BCC มีคำอธิบายว่า การทำ IUI คืออะไร ?

What is IUI Fertility Treatment by BCC Article Share
การทำ IUI คืออะไร ? มีกี่ขั้นตอน ? และผลข้างเคียงของการทำ

บทความนี้ ผมจะพามาดูคำอธิบาย IUI คืออะไร ? ซึ่งถ้าใครที่แต่งงานสมรส มาได้สักระยะ แล้วพยายามมีลูกเกิน 1 ปีขึ้นไป และยังไม่สำเร็จ อาจจะต้องพึ่งเทคโนโลยีทางการแพทย์เข้าช่วยแล้วละครับ โดยบทความนี้ได้รับคำแนะนำมาจาก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ศูนย์ผู้มีบุตรยากกรุงเทพ (Bangkok Centreal Clinic – BCC) สถานพยาบาลที่มาพร้อมมาตรฐานระดับสากล รองรับการรักษาผู้มีบุตรยากครบวงจรด้วยทีมแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์มืออาชีพ ตอบโจทย์การรักษาที่เห็นผล เพิ่มโอกาสการมีบุตรให้สูงขึ้น โดยทาง BCC มีคำอธิบายว่า IUI คืออะไร แบ่งออกเป็นส่วนของความหมาย ขั้นตอนการทำ อัตราความสำเร็จและปัจจัยที่ส่งผล รวมถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ มาดูกันต่อเลยครับ

การทำ IUI คืออะไร ?

คำว่า “IUI” นั้นย่อมาจากคำว่า “Intrauterine Insemination” เป็นการฉีดน้ำเชื้อเข้าโพรงมดลูก จัดเป็นวิธีผสมเทียมที่ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด โดยการนำเชื้ออสุจิที่ผ่านการปั่นล้างและคัดแยกฉีดเข้าไปในโพรงมดลูกโดยตรง วิธีนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อน ซึ่งส่งผลต่อการตั้งครรภ์ที่สำเร็จ จุดประสงค์สำคัญในการทำ IUI คือการเพิ่มโอกาสให้อสุจิเดินทางไปถึงท่อนำไข่ จึงช่วยแก้ปัญหาในคู่สมรสที่ฝ่ายชายอสุจิไม่แข็งแรงได้ในระดับหนึ่ง รวมถึงในคู่สมรสฝ่ายหญิงที่มีท่อนำไข่ตีบตันข้างใดข้างหนึ่ง ก็สามารถพึ่งวิธีการทำ IUI เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้

ขั้นตอนการทำ IUI มีอะไรบ้าง ?

นอกจากทาง BCC จะมีคำอธิบายว่า IUI คืออะไรแล้ว ยังได้อธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนการทำ IUI สำหรับคู่สมรสที่มีบุตรยาก เอาไว้อย่างละเอียด ดังต่อไปนี้

  1. ปรึกษาเบื้องต้น
  2. ชักนำให้ตกไข่
  3. ติดตามผล
  4. เก็บตัวอย่างน้ำเชื้อ
  5. เตรียมน้ำเชื้อ
  6. ผสมเทียม
  7. พักฟื้นและสังเกตอาการ
  8. ติดตามผล

1. ปรึกษาเบื้องต้น

สำหรับคู่สมรสที่มีปัญหามีบุตรยาก จะต้องเข้ารับคำปรึกษาเบื้องต้นจากแพทย์เฉพาะทางก่อน เพื่อประเมินถึงสาเหตุของการมีบุตรยากคร่าวๆ จากการซักถามประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการมีบุตร นอกจากนี้ยังมีการพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นปัญหาและความกังวลต่างๆ โดยแพทย์อาจจะแนะนำวิธีการรักษาเบื้องต้น ว่ามีอะไรบ้างและคนไข้เหมาะกับการรักษาด้วยวิธีไหน

2. ชักนำให้ตกไข่

หลังรับคำปรึกษาไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และคนไข้ตกลงที่จะเข้ารับการรักษา ก่อนเข้าสู่กระบวนการผสมเทียม หนึ่งในการทำ IUI คือการชักนำไข่ให้ตก เพื่อให้รังไข่ของคนไข้ฝ่ายหญิงผลิตไข่ออกมาหลายๆ ใบ อาจใช้ยาช่วยชักนำในขั้นตอนดังกล่าว ซึ่งปริมาณยาที่ใช้อาจแตกต่างกันออกไปแต่ละราย แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเป็นกรณีไป ในการผลิตไข่หลายใบจะช่วยเพิ่มโอกาสการปฏิสนธิที่สำเร็จ

3.ติดตามผล

หลังทำการชักนำไข่ให้ตกไปแล้ว แพทย์จะติดตามผลการตกไข่ โดยสังเกตว่าไข่ที่ได้มีอัตราการเติบโตเป็นอย่างไร เมื่อพบว่าไข่มีขนาดที่เหมาะสมแล้ว แพทย์จะเลือกวันผสมเทียมต่อไป ขั้นตอนนี้กระทำโดยการตรวจเลือดและอัลตราซาวด์

4.เก็บตัวอย่างน้ำเชื้อ

ในวันผสมเทียมหรือวันที่นัดคนไข้เข้ามาทำ IUI จะมีการเก็บตัวอย่างน้ำเชื้อในวันนั้น แพทย์จะเตรียมพื้นที่มิดชิดเอาไว้ให้ และให้คนไข้ฝ่ายชายเก็บอสุจิใส่ภาชนะปลอดเชื้อด้วยตนเอง ก่อนจะนำเข้าสู่ห้องปฏิบัติการเพื่อทำ IUI

5.เตรียมน้ำเชื้อ

เมื่อได้น้ำเชื้อจากการเก็บตัวอย่างใส่ภาชนะมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะต้องทำการเตรียมน้ำเชื้อโดยการปั่นล้าง เพื่อกำจัดสารที่เป็นอันตราย และช่วยเพิ่มจำนวนอสุจิที่เคลื่อนที่ได้

6.ผสมเทียม

หลังจากนั้น ก็เข้าสู่ขั้นตอนการทำ IUI คือการฉีดน้ำเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก แพทย์จะใช้เครื่องมือที่เรียกว่าคีมปากเป็ด เปิดอวัยวะเพศหญิงให้เห็นปากมดลูก จากนั้นใช้สายสวนขนาดเล็กสอดผ่านปากมดลูกเข้าไป เพื่อฉีดน้ำเชื้อที่เตรียมไว้เข้าไปในมดลูก

7.พักฟื้นและสังเกตอาการ

เมื่อดำเนินการฉีดน้ำเชื้อเสร็จแล้ว แพทย์จะให้คนไข้นอนพักในระยะเวลาสั้นๆ เพื่อสังเกตอาการ ก่อนปล่อยให้คนไข้กลับบ้าน และหลังจากนั้นคนไข้ยังต้องเฝ้าสังเกตความผิดปกติของตัวเอง โดยอาการปวดหรือเลือดออกเพียงเล็กน้อย ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าหากมีเลือดออกมาก หรือปวดมาก ควรรีบกลับไปพบแพทย์

8.ติดตามผล

หลังจากทำ IUI เรียบร้อยแล้ว แพทย์จะต้องติดตามผลว่าการตั้งครรภ์สำเร็จหรือไม่ โดยแพทย์จะนัดวันคนไข้ให้เข้าไปพบเพื่อติดตามผลหลังทำ หากพบว่าผลเป็นบวก จะต้องกลับไปพบแพทย์เพื่อติดตามผลการตั้งครรภ์ว่าราบรื่นหรือไม่ แต่ถ้าหากผลเป็นลบ แพทย์และคนไข้จะปรึกษาหารือเรื่องการรักษาขั้นต่อไป

อัตราความสำเร็จของการทำ IUI

What is IUI Fertility Treatment by BCC Article Featured Image
การทำ IUI คืออะไร ? มีกี่ขั้นตอน ? และผลข้างเคียงของการทำ

อัตราความสำเร็จของการทำ IUI ทางศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก BCC ได้อธิบายเอาไว้ว่าอยู่ที่ประมาณ 20% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น อายุ ที่มีส่วนอย่างมาก หากอายุเยอะแล้ว การทำ IUI ให้สำเร็จก็อาจเป็นไปได้ยาก รวมถึงภาวะโรคบางอย่างที่ส่งผลต่อการมีบุตรยาก และจังหวะเวลาในการผสมเสียม หรือจำนวนรอบของการผสมเทียมก็มีผลต่ออัตราความสำเร็จของการทำ IUI

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการทำ IUI

  • ปวดท้อง
  • ท้องอืดหรือท้องบวม
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • หายใจไม่อิ่มหรือหายใจลำบาก
  • มีเลือดออกจากอวัยวะเพศ
  • การติดเชื้อ
  • ร้อนวูบวาบ
  • อารมณ์แปรปรวน อาจมีภาวะซึมเศร้า
  • ภาวะขาดน้ำ

นี่คือผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการทำ IUI เพราะอวัยวะได้รับการกระทบกระเทือนจากเครื่องมือแพทย์ แต่ก็อาจไม่เกิดขึ้นเลย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับร่างกายคนไข้ และการทำ IUI ของแพทย์แต่ละรายด้วย

และทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นรายละเอียดของศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก BCC ที่ได้คำอธิบายว่า IUI คืออะไร นั่นก็คือการฉีดน้ำเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก ช่วยเร่งปฏิกิริยาการปฏิสนธิระหว่างไข่และอสุจิ เพื่อให้เกิดเป็นตัวอ่อน เหมาะกับคนไข้ที่มีปัญหามีบุตรยากชนิดไม่รุนแรง สามารถพึ่งวิธีการนี้ได้

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็น
กรุณาใส่ชื่อของคุณตรงนี้