← กลับไปอ่านหน้า 1 (Previous Page)

สำรวจรอบๆ ตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Roborock S7 MaxV Ultra

มาดูกันว่าส่วนประกอบของตัวเครื่อง ในแต่ละส่วนนั้น มีความสามารถทำอะไรได้บ้าง โดยจะเป็นภาพประกอบพร้อมคำบรรยายอย่างละเอียด ในที่นี้ขอนำเสนอเป็น 5 หัวข้อหลักๆ ได้แก่

    1. Top and Side Components (ส่วนประกอบด้านบน และด้านข้าง)
    2. Underside Component (ส่วนประกอบด้านล่าง)
    3. Inside Component (ส่วนประกอบภายในตัวเครื่อง)
    4. Water Tank Component (ส่วนประกอบของถังน้ำ)
    5. Auto-Empty Wash Fill Dock Component (ส่วนประกอบของแท่นเก็บฝุ่น ซักผ้าม็อบถูพื้นฯ และเติมน้ำอัตโนมัติ)

Top and Side Components (ส่วนประกอบด้านบน และด้านข้าง)

Roborock S7 MaxV Ultra Component Top and Side
ส่วนประกอบด้านบน และด้านข้าง ของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Roborock S7 MaxV Ultra (แหล่งที่มา : หนังสือคู่มือการใช้งาน ของผลิตภัณฑ์)
  1. LiDAR Sensor Cover (ฝาครอบเซนเซอร์วัดระยะทางด้วยเลเซอร์) : ฝาครอบพลาสติกสีดำทำหน้าที่เป็นกันชนแนวตั้ง (Vertical Bumper) ที่จะคอยช่วยป้องกันตัว เซนเซอร์วัดระยะทางด้วยเลเซอร์ ที่หมุนๆ อยู่ด้านใน
  2. Microphone (ไมโครโฟน) : มีหน้าที่รับเสียงบรรยากาศ หรือเสียงของสภาพแวดล้อม ภายในห้อง พร้อมส่งผ่านไปยังแอปพลิเคชัน Roborock ของผู้ควบคุมเครื่อง ที่อยู่นอกบ้าน (สำหรับใช้ตอนวิดีโอคอลเท่านั้น !)
  3. Control Panel (แผงควบคุมเครื่อง) : ประกอบไปด้วยปุ่มกดหลักๆ ทั้งหมด 3 ปุ่มหลักๆ ด้วยกันคือ
    1. SPOT Clean / Child Lock Button (ปุ่มเปิดโหมดการทำความสะอาดเฉพาะจุด และ ล็อกป้องกันเด็ก)*
    2. POWER or CLEAN Button (ปุ่มเปิดปิดเครื่อง หรือสั่งให้เครื่องเริ่มต้น หรือหยุดทำความสะอาด)
    3. HOME Button (ปุ่มสั่งให้เครื่องกลับแท่นชาร์จ)*
  4. Status Indicator Light (ไฟแสดงสถานะ) : แถบไฟ LED ทรงโค้ง ใช้บอกสถานะการทำงานของตัวเครื่อง อย่างเช่น
    1. White (สีขาว) : กำลังดูดฝุ่น (Vacuuming)
    2. Blue (สีน้ำเงิน) : กำลังดูดฝุ่น และถูพื้น (Vacuuming and Mopping)
    3. Orange (สีส้ม) : มีการแจ้งเตือนเกิดขึ้น (Alert)
    4. Green (สีเขียว) : กำลังเข้าสู่แท่นชาร์จ (Docking) และ กำลังชาร์จไฟ (Recharging)
Roborock S7 MaxV Ultra Top Zoom
ภาพขยายของตัวเครื่องด้านบน
  1. Wall Sensor (เซนเซอร์ขอบกำแพง) : มีด้านขวาฝั่งเดียว มีหน้าที่เอาไว้วัดระยะทาง เพื่อรักษาระยะห่างระหว่าง ตัวเครื่องกับขอบกำแพง เพื่อไม่ให้ชิด หรือห่างกันจนมากเกินไป เพื่อให้มันสามารถทำความสะอาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
  2. Front Bumper and Dock Locator (กันชนหน้า และ ตัวระบุตำแหน่งแท่นชาร์จ) : แผงกันชนหน้าที่สามารถให้ตัวได้ระดับนึงเลยทีเดียว เพื่อรองรับ และดูดซับแรงกระแทกระหว่าง ตัวเครื่องกับข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านของเรา และยังมีเซนเซอร์ที่ฝังอยู่ภายในกันชน ทำหน้าที่เป็น ตัวระบุตำแหน่งแท่นชาร์จ เพื่อช่วยให้กลับเข้าสู่แท่นชาร์จได้อย่างแม่นยำ
  3. Upper Charging Contacts (จุดสัมผัสแท่นชาร์จด้านบน) : เนื่องจากรุ่น S7 MaxV Ultra เป็นรุ่นที่มีความสามารถหลายอย่าง ทั้งการดูดฝุ่นเข้าไปเก็บ, การซักผ้าม็อบถูพื้นฯ, และการเติมน้ำอัตโนมัติ จึงทำให้ ไม่มีพื้นที่ในการติดตั้งขั้วชาร์จไฟ ที่ด้านล่างของแท่นชาร์จ ด้วยเหตุนี้เอง เขาจึงแก้ไขด้วยการเอามาติดไว้ด้านบนแทน
  4. ReactiveAI Obstacle Recognition (ส่วนประกอบของระบบนำทาง ReactiveAI™) : ประกอบไปด้วยกล้องหน้าแบบคู่ พร้อมกับเซนเซอร์ในการรับแสงที่มีโครงสร้างแบบ 3 มิติ ก่อนจะนำภาพไปประมวลผล เป็นลำดับต่อไป
  5. LED Fill Light (ไฟ LED ส่องสว่าง) : ใช้เติมความสว่างให้กับกล้องสร้างแผนที่จำลอง ในกรณีถ้าห้องมืด หรือมีแสงต่ำ (แต่ถ้าสว่างปกติไฟนี้จะไม่สว่าง) เพื่อช่วยให้สามารถทำงานในที่มืดได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

Underside Component (ส่วนประกอบด้านล่าง)

Roborock S7 MaxV Ultra Component Underside
ส่วนประกอบด้านล่าง ของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Roborock S7 MaxV Ultra (แหล่งที่มา : หนังสือคู่มือการใช้งาน ของผลิตภัณฑ์)
  1. Cliff Sensor (เซนเซอร์ป้องกันการตกหล่น) : ป้องกันไม่ให้เครื่องเกิดความเสียหายจากการ วิ่งตกจากที่สูง  โดยมีอยู่ทั้งหมด 6 จุด ซึ่งแต่ละจุดจะปล่อยแสงอินฟราเรดลงพื้น เพื่อดูระยะห่างความสูงระหว่างตัวเครื่องกับพื้น ถ้าพบว่ามากผิดปกติ หรือ เกินกำหนด จะหันหัวไปยังทิศทางอื่นทันที โดยอัตโนมัติ
  2. Carpet Detection Sensor (เซนเซอร์ตรวจจับพรม) : หนึ่งในอุปกรณ์ที่ทำงานร่วมกับ ระบบยกผ้าม็อบถูพื้นขึ้นอัจฉริยะ ด้วยเซนเซอร์อัลตร้าโซนิค ที่สามารถให้เครื่องหยุดการถูพื้นบนพรมก็ได้ หรือไม่ต้องขึ้นไปทำความสะอาด (ทั้งดูดฝุ่น และถูพื้น) บนพรมเลยก็ได้ (สามารถตั้งค่าได้ผ่านแอปพลิเคชัน)
  3. Front Caster Wheel (ล้อเลื่อนรับน้ำหนักด้านหน้า) : ล้อที่สามารถหมุนได้รอบทิศทาง (Omni-Directional Wheel) แบบ 360 องศา สามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้เองง่ายๆ
  4. Charging Contact (จุดสัมผัสแท่นชาร์จ) : ไว้รับกระแสไฟฟ้ามาจากแท่นชาร์จ เพื่อที่จะนำไปชาร์จลงแบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออนขนาดความจุ 5,200 มิลลิแอมป์ เป็นลำดับต่อไป
  1. Side Brush Installation Area (พื้นที่ติดตั้งแปรงกวาดข้าง) : แปรงกวาดข้างสีดำแบบ 5 แฉก ความยาว 6 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นแฉก คล้ายลิ้นงู ช่วยตีฝุ่นได้ละเอียดมากขึ้น ถูกยึดติดด้วยน๊อต ถึงแม้ว่าจะติดตั้งลำบากหน่อย แต่รับรองว่ายึดติดอย่างแน่นหนาอย่างแน่นอน
  2. Main Wheel (ล้อขับเคลื่อนหลัก) : ล้อขนาดใหญ่ที่มีลายดอกยาง เพิ่มแรงยึดเกาะระหว่างตัวเครื่อง กับพื้นห้อง และมีสปริงโช๊คอัพ ที่จะทำให้เครื่องสามารถวิ่งผ่านพื้นที่ต่างระดับได้ สูงสุดถึง 2 เซนติเมตร กันเลยทีเดียว
  3. Main Brush Installation Area (พื้นที่ติดตั้งแปรงกวาดหลัก) : แปรงกวาดหลักสีแดง เป็นแบบแปรงยางล้วน หมดปัญหาเรื่องของเส้นผม หรือขนสัตว์ยาวๆ ที่จะมาติดพัน และเฉพาะส่วนของตัวแปรงมีความยาว 16.5 เซนติเมตร นอกจากนี้ส่วนกลไกของแปรง สามารถขยับ หรือให้ตัวได้ค่อนข้างอิสระมาก ช่วยให้ตัวแปรงติดแนบพื้นอยู่ตลอดเวลา
  4. Main Brush Cover Latches (สลักปลดล็อกฝาครอบแปรงกวาดหลัก) : ในกรณีที่เราต้องการจะนำแปรงกวาดหลักออกมาทำความสะอาด เช่นมีเส้นผม หรือขนสัตว์ เข้าไปติดพันอยู่ข้างใน เราจะต้องเอาฝาครอบมันออกมาก่อน ด้วยการบีบสลักทั้ง 2 เข้าหากันแล้วดึงออกมาได้เลย และค่อยหยิบแปรงออกมาจากตัวเครื่องอีกที

Inside Component (ส่วนประกอบภายในตัวเครื่อง)

Roborock S7 MaxV Ultra Component Inside
ส่วนประกอบด้านใน ของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Roborock S7 MaxV Ultra (แหล่งที่มา : หนังสือคู่มือการใช้งาน ของผลิตภัณฑ์)
  1. Wi-Fi Indicator (ไฟแสดงสถานะการทำงานของ Wi-Fi) : แจ้งสถานะว่าการทำงานของ Wi-Fi ว่าเชื่อมต่อได้หรือไม่ โดยมีทั้งหมด 4 สถานะคือ
    1. Off (ไฟดับ) : ปิดการเชื่อมต่อ Wi-Fi
    2. Flashing Slowly (กระพริบช้า) : รอการเชื่อมต่อ Wi-Fi
    3. Flashing Quickly (กระพริบเร็ว) : กำลังเชื่อมต่อ Wi-Fi
    4. Steady (สว่างค้าง) : การเชื่อมต่อ Wi-Fi สำเร็จ
  2. System Reset Button (ปุ่มล้างการตั้งค่าระบบ) : รีเซ็ต หรือล้างการตั้งค่าการเชื่อมต่อ Wi-Fi กลับไปเป็นค่าเริ่มต้น เพื่อให้เครื่องพร้อมที่จะทำการเชื่อมต่อ Wi-Fi อีกครั้ง
  3. Air Inlet (ช่องอากาศเข้า) : ช่องที่ให้อากาศที่อัดจากด้านนอก เข้ามาด้านใน เพื่อขับดันฝุ่นละออง ที่อยู่ในกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองออกไปเก็บยัง แท่นเก็บฝุ่นอัตโนมัติ
  4. LiDAR Sensor (เซนเซอร์เลเซอร์) : อุปกรณ์ที่จะคอยยิงแสงเลเซอร์ (ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายกับมุนษย์) ออกไปตกกระทบกับวัตถุที่อยู่รอบๆ ตัวมัน ก่อนนำไปคำนวณระยะห่าง เพื่อประมวลผลในการสร้างแผนที่จำลอง
Roborock S7 MaxV Ultra Rear
ด้านหลังของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Roborock S7 MaxV Ultra
  1. Mop Wash Sensor (เซนเซอร์การซักผ้าม็อบถูพื้นฯ) : ใช้ตรวจจับการหันทิศทางของตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น เนื่องจากเวลาที่จะซักผ้าม็อบถูพื้นฯ เครื่องจะต้องถอยหลังเข้าที่ตัวแท่นฯ แทนถ้าตรวจจับเจอจึงเปิดระบบซัก
  2. Water Tank Latch (สลักปลดล็อกถังน้ำ) : สามารถบีบลงมา เพื่อนำเอาถังน้ำออกมาจากตัวเครื่องได้เลย
  3. Positioning Button (ตัวจับการวางตำแหน่ง) : ใช้ล็อกตัวเครื่องไม่ให้ดิ้นไปดิ้นมา ในขณะที่กำลังเข้าซักผ้าม็อบถูพื้นฯ หรือเติมน้ำลงถังน้ำที่แท่นฯ เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น
  1. Water Tank Installation Area (พื้นที่ติดตั้งถังน้ำ) : ถังน้ำขนาดความจุ 0.3 ลิตร ถูกติดตั้งเข้าไปที่ส่วนท้าย หรือด้านหลัง ตัวเครื่องเลย หากต้องการถูพื้นแบบเปียก ก็เพียงแค่นำ ผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ พร้อมแผ่นติด มาเสียบที่ด้านหลังได้เลย โดยไม่ต้องยกเครื่องเพื่อพลิกคว่ำ ถือว่าสะดวกมากๆ
  2. Dust Inlet (ช่องฝุ่นเข้า) : ฝุ่นที่ถูกดูดเข้ามาภายในเครื่องด้วยแปรงกวาดหลัก และพลังลมดูด จะถูกลำเลียงเข้ามาทางช่องนี้
  3. Dustbin Installation Area (พื้นที่ติดตั้งกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง) : ช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า เอาไว้เก็บกล่องใส่ฝุ่นละอองขนาด 0.47 ลิตร (470 มิลลิลิตร) ถ้านำกล่องฯ ออกมาจะเห็นช่องฝุ่นเข้า (Dust Inlet) อย่างชัดเจน
  4. Inner Air Outlet or Air Vent (ช่องอากาศออกด้านใน) : อากาศที่ถูกดูดเข้ามาพร้อมกับฝุ่น จะถูกกรอก และส่งกลับออกด้านนอก ผ่านทางช่องนี้

Water Tank Component (ส่วนประกอบของถังน้ำ)

Roborock S7 MaxV Ultra Water Tank Detail
รายละเอียดของถังน้ำ (Water Tank)

ถังน้ำ (Water Tank) ที่อยู่ที่ตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่นนั้น รูปทรง และลักษณะต่างๆ ก็ไม่ได้แตกต่างไปจากถังน้ำของหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ตัวอื่นๆ สักเท่าไหร่นัก โดยสามารถถอดเข้า-ออก จากตัวเครื่องได้โดยไม่ต้องพลิกคว่ำ หรือตะแคงเครื่อง เพียงแค่กด “สลักปลดล็อกถังน้ำ (Water Tank Latch)” ก็ดึงออกมาในแนวนอนได้เลย

โดยจุดเด่นหลักๆ ของมันก็คือ มีตัวกรองน้ำ ที่มีลักษณะเป็นแผ่นตาข่ายถี่ๆ ป้องกันเศษใดๆ หลุดลอดเข้าไปภายในถังน้ำ ซึ่งก็อาจจะทำให้ส่วนประกอบภายในที่เกี่ยวข้องเสียหายได้

สำหรับอีกจุดนึงที่ไม่เคยพบ เคยเห็นมาก่อนก็คือ ถังน้ำของเครื่องนี้มี “ช่องเติมน้ำ (Self-Filling Port)” ที่เอาไว้รับน้ำเข้ามาจากตัวแท่นฯ มาให้ด้วย เพราะเวลาน้ำมันพร่องใกล้จะหมด มันจะเติมน้ำจากถังน้ำสะอาด ที่อยู่ที่แท่นผ่านเข้ามาตรงจุดนี้เองโดยอัตโนมัติ

Auto-Empty Wash Fill Dock Component (ส่วนประกอบของแท่นเก็บฝุ่น ซักผ้าม็อบถูพื้นฯ และเติมน้ำอัตโนมัติ)

Roborock S7 MaxV Ultra Component Auto-Empty Wash Fill Dock
ส่วนประกอบของ แท่นเก็บฝุ่น ซักผ้าม็อบถูพื้นฯ และเติมน้ำอัตโนมัติ ของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Roborock S7 MaxV Ultra (แหล่งที่มา : หนังสือคู่มือการใช้งาน ของผลิตภัณฑ์)
  1. Dirty and Clean Water Tank Handle (ที่จับ หรือหูหิ้วของถังน้ำสกปรก และถังน้ำสะอาด)
  2. Dirty Water Tank (ถังเก็บน้ำสกปรก)
  3. Self-Filling Port (ช่องเติมน้ำเข้าเครื่อง)
  4. Dock Location Beacon (ตัวให้สัญญาณตำแหน่งแท่น)
  5. Charging Contacts (ขั้วชาร์จไฟ) (ย้ายมาอยู่ที่ด้านบน เพื่อความสะดวกในการซักผ้าม็อบถูพื้นที่ด้านล่าง)
  6. Washing Strip (แถบทำความสะอาดผ้าม็อบถูพื้นฯ)
  7. High-Speed Maintenance Brush (แปรงซักผ้าม็อบถูพื้นฯ ความเร็วสูง)
Roborock S7 MaxV Ultra Auto-Empty Wash Fill Dock Detail
รายละเอียดของแท่นเก็บฝุ่น ซักผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ และเติมน้ำอัตโนมัติ (Auto-Empty Wash Fill Dock)
  1. Maintenance Brush Latch (สลักยึดแปรงซักผ้าม็อบถูพื้นฯ)
  2. Dustbin (ถังเก็บฝุ่น)
  3. Water Tank Lid (ฝาของถังน้ำ)
  4. Clean Water Tank (ถังเก็บน้ำสะอาด) (ความจุถังน้ำประมาณ 2.8 ลิตร)
  5. Water Tank Latch (สลักล็อกฝาปิดถังน้ำ)
  6. Status Indicator Light (ไฟแสดงสถานะ)
  7. Water Filter (ตัวกรองน้ำ)
  8. Dock Base (ส่วนฐานของแท่นฯ)

เตรียมเครื่อง และเปิดใช้งานจริง หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Roborock S7 MaxV Ultra

  1. Charge Base Installation (การติดตั้งแท่นชาร์จ)
  2. First Time Charging (การชาร์จไฟครั้งแรก)
  3. Application Connection via Wi-Fi (การเชื่อมต่อแอปพลิเคชัน ผ่าน Wi-Fi)

1. Charge Base Installation (การติดตั้งแท่นชาร์จ)

Roborock S7 MaxV Ultra Docked
หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Roborock S7 MaxV Ultra ขณะจอดอยู่ที่ แท่นเก็บฝุ่น ซักผ้าม็อบถูพื้นฯ และเติมน้ำอัตโนมัติ

ถึงแม้ว่าการติดตั้ง หรือเริ่มต้นใช้งาน หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Roborock S7 MaxV Ultra ดูเหมือนจะมีความซับซ้อนค่อนข้างมาก เพราะตัว แท่นเก็บฝุ่น ซักผ้าม็อบถูพื้นฯ และเติมน้ำอัตโนมัติ มันมีขนาดที่ใหญ่โตมโหฬาร เอามากๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การติดตั้งค่อนข้างง่ายมากๆ (แต่มันจะเหนื่อยไอ้ตรงที่ แท่นฯ มันมีขนาดใหญ่ และน้ำหนักเยอะนี่แหละครับ)

โดยเริ่มจากการนำตัวฐานฯ (Dock Base) ยกมาวางให้ลงล็อกของมัน มีสลักเกี่ยวแบบชัดเจน และเอาอุปกรณ์ป้องกันต่างๆ ที่เขาได้ใส่มาจากโรงงานเช่นตัวเทปยึดฝาปิดถังต่างๆ แผ่นโฟมป้องกันความเสียหาย ออกให้หมด ก็พร้อมใช้งานแล้ว

หลังจากนั้น ก็นำถังเก็บน้ำสะอาด (Clean Water Tank) ไปเติมน้ำประปาให้เต็มความจุ (เติมให้ถึงระดับสูงสุด หรือ “ระดับ MAX”) ไปเลย จะได้ไม่ต้องเสียเวลามาเติมกันหลายรอบ โดยความจุของถังน้ำสะอาด อยู่ที่ประมาณ 2.8 ลิตร (ก็ถือว่าเยอะพอสมควรเลยทีเดียว)

Roborock S7 MaxV Ultra Auto-Empty Wash Fill Dock Clean Water Tank Filling
ขณะกำลังเติมน้ำประปา ลงใน ถ้งน้ำสะอาด (Clean Water Tank Filling)

2. First Time Charging (การชาร์จไฟครั้งแรก)

สำหรับการชาร์จไฟเพื่อเริ่มต้นใช้งานครั้งแรกของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่นเครื่องนี้ ควรชาร์จไฟค้างคืน ทิ้งเอาไว้ประมาณ 6-8 ชั่วโมง โดยตามสเปกเครื่องบอกว่า การชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็ม จะใช้เวลาสูงสุดไม่เกิน 6 ชั่วโมงเท่านั้น (แต่ไม่ต้องห่วง เพราะหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ในสมัยนี้ รวมถึงเครื่องนี้ด้วย มีการตัดการจ่ายไฟอัตโนมัติ เมื่อแบตเตอรี่เต็มอยู่แล้ว)

3. Application Connection via Wi-Fi (การเชื่อมต่อแอปพลิเคชัน ผ่าน Wi-Fi)

การควบคุม และสั่งงาน หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Xiaomi Roborock S7 ผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนนั้น สามารถทำได้ผ่าน 2 แอปฯ ด้วยกันได้แก่ แอป Roborock ของทางบริษัทผู้ผลิตเอง และแอป Mi Home จากที่ผลลัพธ์ของการที่ Roborock ไปเป็นส่วนหนึ่งของ ห่วงโซ่ในระบบนิเวศของเสี่ยวหมี่ (Xiaomi Ecological Chain) สรุปก็คือใช้ควบคุมได้ทั้งคู่

ลิงก์ดาวน์โหลดแอป Rorobock*
(พัฒนาโดย : บริษัท ปักกิ่ง โรโบร็อค เทคโนโลยี จำกัด – Beijing Roborock Technology Co., Ltd.)

  1. ดาวน์โหลดแอป Roborock สำหรับ iOS ผ่าน App Store
  2. ดาวน์โหลดแอป Roborock สำหรับ Android ผ่าน Play Store

ลิงก์ดาวน์โหลดแอป Mi Home
(พัฒนาโดย : บริษัท ปักกิ่ง เสี่ยวหมี่ จำกัด – Beijing Xiaomi Co., Ltd.)

  1. ดาวน์โหลดแอป Mi Home สำหรับ iOS ผ่าน App Store
  2. ดาวน์โหลดแอป Mi Home สำหรับ Android ผ่าน Play Store

ข้อมูลเพิ่มเติม* : รายละเอียดขั้นตอนการติดตั้งแอปพลิเคชัน Roborock สามารถอ่านได้ที่หนังสือคู่มือเริ่มต้นการใช้งานแอป Roborock ได้เลย

คุณสมบัติ และความสามารถของตัวแอปพลิเคชัน Roborock

Roborock App Interface General Example for Roborock S7 MaxV Ultra
รูปตัวอย่างหน้าจอในเมนูต่างๆ ของแอปพลิเคชัน Roborock ที่ใช้ในการควบคุม หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Roborock S7 MaxV Ultra
  1. การสั่งงานเครื่อง (Execute Cleaning Command)
    1. สั่งให้เครื่องเริ่มทำความสะอาดห้อง (Start Room Cleaning)
      1. ทำความสะอาดทั่วทั้งบริเวณ (Full)
      2. ทำความสะอาดเฉพาะห้องที่กำหนด (Rooms)
      3. ทำความสะอาดเฉพาะพื้นที่ที่กำหนด (Zones)
    2. สั่งให้เครื่องหยุดทำงานชั่วคราวหรือทำงานต่อ (Pause / Continue Cleaning)
    3. สั่งให้เครื่องกลับแท่นฯ (Return to Dock)
      1. กลับไปชาร์จไฟอย่างเดียว (Return to Charging)
      2. กลับไปซักผ้าม็อบถูพื้นฯ และชาร์จไฟ (Wash Mop and Charging)
      3. กลับไปซักผ้าม็อบถูพื้น (Wash Mop Halfway)
    4. ปรับระดับความแรงของพัดลมดูดฝุ่น (Adjust Vacuum Power Level)
      1. โหมดเงียบ (Quite Mode) – ดูดเบา (ควรใช้ในเวลากลางคืน)
      2. โหมดสมดุล (Balanced Mode) – ดูดปกติ
      3. โหมดเทอร์โบ (Turbo Mode) – ดูดแรง
      4. โหมดสูงสุด (Max Mode) – ดูดแรงมากๆ
      5. โหมดสูงสุดพลัส (Max+ Mode) – ดูดแรงที่สุด (ระบบจะกลับไปเป็นโหมดปกติ หลังเสร็จสิ้น)
    5. ปรับระดับความเข้มข้นของการถู (Scrub Intensity)
      1. ปิดระบบ (Close)
      2. ระดับอ่อนโยน (Mild)
      3. ระดับปานกลาง (Moderate)
      4. ระดับเข้มข้น (Intense)
    6. เลือกรูปแบบเส้นทางการถู (Mop Route)
      1. การถูธรรมดา (Standard) (ระบบดูดฝุ่น และ ระบบถูพื้น เปิดปกติ)
      2. การถูแบบล้ำลึก (Deep) (เปิดแต่ ระบบถูพื้น อย่างเดียว เส้นทางเดินเป็นตัว Z พร้อมวิ่ง 2 รอบ)
      3. การถูแบบล้ำลึกพลัส (Deep+) (เหมือนแบบ Deep แต่จะทำงานช้ากว่า มีความละเอียดมากกว่า)
    7. ความสามารถการทำความสะอาดเสริมพิเศษ (Special Cleaning Features)
      1. โหมดควบคุมทิศทางเครื่องด้วยตัวเอง (Manual Control Mode)
        1. ควบคุมแบบปุ่มกด (Push-Button Control)
        2. ควบคุมแบบจอยสติ๊ก (Joystick Control)
      2. โหมดการทำความสะอาดแบบเลือกห้อง (Selective Room Cleaning)
      3. โหมดทำความสะอาดเฉพาะจุด (Spot Cleaning Mode) (ในพื้นที่ 1.5 ตารางเมตร จากจุดเริ่มต้น)
      4. โหมดการทำความสะอาดเฉพาะโซน (Zone Cleaning) (ลากตำแหน่งที่ต้องการทำความสะอาด)
      5. โหมดการทำความสะอาดแบบปักหมุดแล้วไป (Pin n Go Cleaning)
      6. กำหนดกำแพงจำลอง (Virtual Wall) (ทาง Roborock เรียกว่า กำแพงล่องหน หรือ Invisible Wall)
      7. กำหนดพื้นที่ที่ไม่ต้องเข้าไปทำความสะอาด (No-Go Zones)
      8. กำหนดพื้นที่ที่ไม่ต้องการถูพื้น (No-Mop Zone)
  2. การดูสถานะของตัวเครื่อง (Robot Status)
      1. ดูสถานะปัจจุบันของตัวเครื่อง (Robot Status) ได้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ อาทิ
        1. กำลังทำความสะอาด (Cleaning)
        2. กำลังทำความสะอาดห้อง หรือแบบโซน (Room / Zone Cleaning)
        3. หยุดชั่วคราว (Pause)
        4. กำลังกลับแท่นชาร์จ (Returning to Dock)
        5. กำลังชาร์จแบตเตอรี่ (Charging)
        6. ชาร์จแบตเตอรี่เสร็จสิ้น (Charge Completed)
        7. กำลังซักผ้าม็อบถูพื้น (Washing the Mop)
        8. กำลังกลับไปซักผ้าม็อบถูพื้นฯ (Going to Wash the Mop)
        9. กำลังดูดฝุ่น (Emptying)
        10. และอื่นๆ อีกมากมาย (and More …)
      2. ดูขนาดพื้นที่ที่ทำความสะอาดไปแล้ว (Cleaning Area) (หน่วยเป็นตารางเมตร – m2)
      3. ดูปริมาณคงเหลือของแบตเตอรี่ (Battery Level) (หน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ – %)
      4. ดูเวลาที่ใช้ในการทำความสะอาด (Cleaning Time) (หน่วยเป็นนาที – Min)
      5. ดูแผนที่การทำความสะอาดแบบสดๆ (Real-time Cleaning Map)
      6. ดูกล้องส่องบรรยากาศห้องจากระยะไกล (Remote Viewing) (ผ่านกล้องหน้าคู่ – ตอนห้องมืดก็ดูได้)
        1. ดูภาพแบบ LD (ความละเอียดต่ำ – Low Definition)
        2. ดูภาพแบบ HD (ความละเอียดสูง – High Definition)
        3. เปิดระบบวิดีโอคอล (Video Call)
      7. แจ้งบอกตำแหน่งปัจจุบันของตัวเครื่องด้วยเสียง (Location) (สั่งผ่านแอปพลิเคชัน)
Roborock App Interface Remote Viewing Feature of Roborock S7 MaxV Ultra Example
ตัวอย่างความสามารถ ดูกล้องส่องบรรยากาศห้องจากระยะไกล (Remote Viewing)
  1. การตั้งค่า และข้อมูลเกี่ยวกับการทำความสะอาด (Cleaning Settings and Information)
    1. สร้างแผนที่การทำความสะอาด (Create Cleaning Map) ของพื้นที่แต่ละชั้น หรือแต่ละสถานที่ (สามารถสร้างได้มากกว่า 1 แผนที่) และยังสามารถ
      1. แก้ไขข้อมูลห้อง (Edit Room)
        1. รวมห้อง (Merge Room)
        2. แบ่งห้อง (Divide Room)
        3. เปลี่ยนชื่อห้อง (Rename Room)
      2. แก้ไขเฟอร์นิเจอร์ (Edit Furniture) (มีให้เลือกมากกว่า 10 รายการ)
      3. แก้ไขรูปแบบของพื้นผิว (Edit Surface Types) (แก้ไขรูปแบบของพื้นผิวเช่น พื้นกระเบื้อง, ไม้, พรม)
      4. ตั้งลำดับการทำความสะอาด (Set Cleaning Sequence) (ห้องไหนเริ่มทำความสะอาดก่อน-หลัง)
    2. สามารถตั้งเวลาทำความสะอาด (Schedule) ได้แบบยืดหยุ่น เช่น วันนี้ทำ พรุ่งนี้ไม่ทำ หรือ วันนี้ทำเวลานี้ พรุ่งนี้ทำอีกเวลานึง และเลือกระดับความแรงของพัดลมดูดฝุ่น และ ระดับความเข้มข้นของการถู ได้ด้วย
    3. ดูประวัติการทำความสะอาดย้อนหลัง (Cleaning History) (ทั้งข้อมูล พร้อมแผนที่ที่เครื่องวิ่งผ่าน)
    4. โหมดห้ามรบกวน (Do not Disturb Mode) (ปิดการทำงานของเครื่องในช่วงเวลาพักผ่อน กำหนดเวลาได้)
    5. การตั้งค่าเกี่ยวกับการทำงานบนพรม (Carpet Settings)
      1. เพิ่มแรงดูดเมื่ออยู่บนพรม (Carpet Boost)
      2. โหมดหลีกเลี่ยง (Avoidance Modes)
        1. ยกขึ้น (Rise) (เหมาะสำหรับพรมขนสั้น ระบบถูพื้นจะยกลอยขึ้น เหลือแต่การดูดฝุ่นอย่างเดียว)
        2. หลีกเลี่ยงพื้นพรม (Avoid) (เหมาะสำหรับพรมขนสั้นถึงยาว โดยเครื่องจะไม่เข้าไปยังพื้นที่นี้)
        3. ถูบนพื้นพรมแบบธรรมดาไม่สนใจ (Ignore) (เหมาะกับพื้นที่ ที่ไม่มีพรมใดๆ อยู่ในบริเวณนั้นๆ)
    6. การตั้งค่าเกี่ยวกับแท่นเก็บฝุ่น ซักผ้าม็อบถูพื้นฯ และเติมน้ำอัตโนมัติ (Dock Settings)
      1. โหมดการทำความสะอาดผ้าม็อบถูพื้นฯ (Washing Mode)
      2. ความถี่ในการทำความสะอาดผ้าม็อบถูพื้นฯ (Mop Wash Frequency) (จะกลับไปซักที่แท่นฯ เอง)
        1. เงื่อนไขเมื่อทำความสะอาดเสร็จสิ้นในแต่ละห้อง (By Room)
        2. เงื่อนไขแบบเวลา (By Time) (ทุกๆ 10/ 15/ 20/ 25/ 30/ 35/ 40/ 45 และ 50 นาที)
      3. การดูดฝุ่นอัตโนมัติ พร้อมเลือกโหมดการทำความสะอาด (Auto Emptying with Mode Selection)
        1. Smart Mode (โหมดอัจฉริยะ) (ปรับแรงดูดให้เหมาะสม ตามปริมาณฝุ่นที่มีในเครื่อง)
        2. Light Mode (โหมดดูดเบา) (สำหรับบ้าน หรือห้องขนาดเล็ก – เสียงค่อย)
        3. Balanced (โหมดดูดระดับกลาง) (สำหรับบ้าน หรือห้องขนาดกลาง – เสียงดังปานกลาง)
        4. Max Mode (โหมดสูงสุด) : เหมาะสำหรับบ้าน หรือห้องขนาดใหญ่ ที่สกปรกมาก (เสียงดังมาก)
  2. การตั้งค่า และข้อมูลทั่วไป (General Settings and Information)
    1. เปลี่ยนชื่อเครื่อง (Change the Device Name)
    2. เปลี่ยนภาษาของเสียงพูด (Robot Voice) (มีภาษาไทยด้วย !) และ ระดับความดังของเสียง (Volume)
    3. เปิดปิดไฟแสดงสถานะ ของปุ่มกดบนตัวเครื่อง (Enable Button Lights)
    4. เปิดปิดไฟแสดงสถานะ ของตัวเครื่อง (Enable or Disable Indicator Light)
    5. เปิดปิดโหมดล็อกป้องกันเด็กกดปุ่มบนตัวเครื่อง (Enable or Disable Child Lock Mode)
    6. ปรับตั้งเวลาเครื่องให้ตรงกับปัจจุบัน (Synchronize Time zone)
    7. การตั้งค่าหน่วยวัดพื้นที่ (Unit of Area) (ตารางเมตร – m2 | ตารางฟุต – ft2 | ปิง – py)
    8. การบำรุงรักษา และดูสถานะของวัสดุสิ้นเปลือง (Maintenance and Consumable Product Status)
    9. ดูคู่มือการใช้งาน (User Manual) (ข้อมูลเหมือนในเล่มที่ให้มาภายใน กล่องผลิตภัณฑ์)
    10. ดูรายละเอียดของตัวเครื่อง (Product Info)
    11. อัปเกรดเฟิร์มเวอร์ของตัวเครื่อง (Firmware Upgrade)
    12. เพิ่มผู้ควบคุมเครื่อง (Device Sharing) (เพื่อให้อีกคนสามารถควบคุมเครื่องนี้ได้เช่นกัน)
    13. ลบการเชื่อมต่ออุปกรณ์ออกจากแอปพลิเคชัน (Delete Device)

สภาพหลังการใช้งาน หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Roborock S7 MaxV Ultra

1. สภาพหลังการใช้งานของระบบดูดฝุ่น

ในส่วนของการดูดฝุ่นนั้น ในการดูดฝุ่นแต่ละครั้ง เมื่อฝุ่นถูกดูดเข้าไปเก็บเอาไว้ใน กล่องใส่ขยะฝุ่นละออง ที่ตัวเครื่องแล้ว เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจกลับไปยังแท่นฯ ระบบก็จะดูดฝุ่น ที่อยู่ในตัวเครื่องเข้าไปเก็บเอาไว้ใน ถุงเก็บฝุ่นแบบใช้แล้วทิ้ง (Disposable Dust Bag) ทันที ดังนั้นจึงไม่มีฝุ่นขนาดเล็ก หรือใหญ่หลงเหลือไว้ที่ตัวเครื่องเลย (เพราะพลังดูดฝุ่นมันแรงเหลือเกิน)

Roborock S7 MaxV Ultra Disposable Dust Bag
สภาพหลังผ่านการใช้งานมาได้ระยะหนึ่งของ ถุงเก็บฝุ่นแบบใช้แล้วทิ้ง (Disposable Dust Bag)

สำหรับภาพถ่ายด้านบนคือ เมื่อผมทดลองดึงถุงเก็บฝุ่นแบบใช้แล้วทิ้ง ออกมาจากตัวแท่นฯ และลองเปิดปากถุงมันออกมา (เพราะปกติ เมื่อดึงถุงเก็บฝุ่นฯ ออกมาจากตัวแท่นฯ ปากถุงจะปิดเองโดยอัตโนมัติ ตอนที่เราดึง) และลองส่องกล้องเข้าไปดูด้านใน ก็สภาพประมาณนี้เลย

2. สภาพหลังการใช้งานของระบบถูพื้น

ส่วนนี้เป็นส่วนที่ผมค่อนข้างแปลกใจอยู่พอสมควร เพราะด้วยความที่มันสามารถซักผ้าม็อบถูพื้นฯ ได้อย่างสะอาดหมดจดประหนึ่งว่ามีคนมาซักให้ แถมตัวกลางที่ใช้เป็นเพียงแค่น้ำเปล่าอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ได้มีน้ำยาซักผ้ามาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด (เอาจริงๆ ต่อให้คนมาซัก ยังไม่รู้ว่าผ้าม็อบถูพื้นฯ จะสะอาดแบบนี้หรือเปล่าเลย) ด้านล่างนี้คือภาพเปรียบเทียบระหว่างก่อน และหลังซักผ้าม็อบถูพื้นฯ ที่ถูกซักโดยแท่นเก็บฝุ่น ซักผ้าม็อบถูพื้นฯ และเติมน้ำอัตโนมัติ อุปกรณืตัวตึงของหุ่นยนต์ดูดฝุ่นรุ่นนี้

Roborock S7 MaxV Ultra Before and After Washing Mop Cloth
ภาพเปรียบเทียบก่อน และหลังการซักผ้าม็อบถูพื้นฯ (Before and After Washing Mop) แบบอัตโนมัติ โดยแท่นฯ

ในขณะที่ภาพด้านล่างต่อไปนี้คือสภาพของน้ำที่ได้ชะล้างทำความสะอาดภาพม็อบมาแล้ว ลองดูกันชัดๆ เลยว่าน้ำนี่ดำปี๋แค่ไหน รวมไปถึงสภาพภายในถังเก็บน้ำสกปรกด้วย ว่ามีคราบต่างๆ และเมือกเหนียวๆ อยู่มากมาย (เดี๋ยวจะต้องนำไปล้างด้วยสบู่ออกอีกที แต่นี่ถ่ายภาพมาให้ทุกท่านได้รับชมกันก่อน) ในขณะที่กลิ่นก็ไม่ต้องพูดถึง “อย่างเหม็น” …

ในขณะที่ตัวกรองน้ำ (Water Filter) ที่อยู่ที่แถบด้านล่างของตัวแท่นฯ เราสามารถดึงมันออกมาทำความสะอาดได้เช่นกัน เพราะมันเป็นอุปกรณ์ที่เอาไว้กรองสิ่งสกปรกด่านแรก ก่อนที่น้ำสกปรกจะถูกลำเลียงขึ้นไปเก็บใน ถังเก็บน้ำสกปรก ในลำดับต่อไป

สำหรับวิธีการทำความสะอาดก็ง่ายๆ เพียงแค่เอาน้ำสะอาดจากสายยาง หรือสายฉีดชำระฉีดเข้าไป แล้วหลังจากนั้นเศษสิ่งสกปรก หรือคราบต่างๆ ก็จะหลุดออกมาได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องใช้น้ำยาทำความสะอาดใดๆ ช่วย (หรือจะใช้ก็ได้นะ)

Roborock S7 MaxV Ultra Auto-Empty Wash Fill Dock Water Filter After Use
สภาพของตัวกรองน้ำ (Water Filter) ของแท่นเก็บฝุ่น ซักผ้าม็อบถูพื้นฯ และเติมน้ำอัตโนมัติ หลังผ่านการใช้งานมาได้ระยะหนึ่ง

ราคาอะไหล่ของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Roborock S7 MaxV Ultra

ชื่ออะไหล่
(Part Name)
ราคาต่อหน่วย
(Unit Price)
1. แบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออน x 1 ชุด
(Lithium-Ion Battery x 1 Set)
2,000 บาท
2. แปรงกวาดข้าง x 2 ชิ้น
(Side Brush x 2 Pieces)
290 บาท
3. แปรงกวาดหลัก x 1 ชิ้น
(Main Brush x 1 Piece)
790 บาท
4. ผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ x 2 ชิ้น
(Microfiber Cloth x 2 Pieces)
490 บาท
5. แผ่นกรองอากาศ HEPA x 2 แผ่น
(HEPA Filter x 2 Pieces)
790 บาท
6. โมดูลเป่าแห้งสำหรับ Auto Empty Wash Fill Dock x 1 ชุด
(Roborock Lava Dryer Module x 2 Unit)
990 บาท
7. ถุงเก็บฝุ่นแบบใช้แล้วทิ้งแบบ 3 ถุง x 1 ชุด
(Disposable Dust Bag – 3 Bags x 1 Set)
349 บาท
8. ถุงเก็บฝุ่นแบบใช้แล้วทิ้งแบบ 6 ถุง x 1 ชุด
(Disposable Dust Bag – 6 Bags x 1 Set)
629 บาท
9. น้ำยาทำความสะอาดพื้น ขนาด 480 มิลลิลิตร x 1 ขวด
(OMO Roborock Floor Cleaner Professional x 1 Bottle)
399 บาท

การติดต่อสั่งซื้อ และ การรับประกัน หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Roborock S7 MaxV Ultra

1. ติดต่อสั่งซื้อ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Roborock S7 MaxV Ultra ได้ที่ไหน ?

คุณสามารถสั่งซื้อ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Roborock S7 MaxV Ultra ได้ผ่านทางหลายช่องทาง สามารถติดต่อสอบถามก่อนได้ที่รายละเอียด ในแต่ละช่องทางที่ด้านล่างนี้เลย

  • Telephone No (เบอร์โทรศัพท์) : 08-2388-1688
  • LINE Official Account (บัญชีไลน์ธุรกิจ) : @RoborockThailand
  • Facebook Page (เพจเฟสบุ๊ค) : RoborockTHA (โรโบร็อคทีเฮชเอ)

2. มีระยะเวลาการรับประกัน ยาวนานแค่ไหน?

หุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวนี้มีการรับประกันในส่วนของอุปกรณ์ภายในตัวเครื่องเป็นระยะเวลา 2 ปีเต็ม (ยกเว้นอุปกรณ์สิ้นเปลืองต่างๆ)

บทสรุปหลังการใช้งาน ข้อดี ข้อเสีย ของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Roborock S7 MaxV Ultra

ความรู้สึกเกี่ยวกับการใช้งาน !

  • การทำความสะอาด ถ้าเลือกออปชันที่มีการถูพื้นไปด้วย จะเสียเวลามากขึ้น เพราะว่าจะต้องมีการกลับมาซักผ้าม็อบถูพื้นฯ ที่ตัวแท่นฯ ในระหว่างที่กำลังทำความสะอาด และกลับไปทำความสะอาดต่อในพื้นที่ที่เหลือ (แต่จริงๆ สามารถตั้งค่าได้ ผ่านแอป Roborock ว่าจะให้กลับมาทำความสะอาด ในทุกๆ กี่นาที)
  • สามารถที่จะปรับเปลี่ยนโหมดการทำงานของตัวเครื่องได้ แม้ในขณะที่เครื่องกำลังทำงานอยู่ (On-the-Fly Mode Switching) โดยไม่ต้องหยุดเครื่องก่อนแต่อย่างใด
  • กรณีถ้าเลือกออปชันให้เครื่องทำการ ถูพื้นไปด้วย (ด้วยเทคโนโลยี VibraRise ที่สั่นมากถึง 3 พันครั้ง / นาที)  โดยห้องมีความสะอาดขึ้นจริงๆ เพราะความสามารถการซักผ้าม็อบฯ มีประสิทธิภาพสูงมาก น้ำในถังเก็บน้ำสกปรก สกปรก และมีกลิ่นเหม็นจริงๆ (แต่กลิ่นไม่ได้เล็ดลอดออกมาข้างนอกนะครับ) ควรต้องหมั่นดูแล ด้วยการนำไปเททิ้ง และทำความสะอาดถังบ่อยๆ
  • การเก็บฝุ่นที่แท่นชาร์จ จะใช้ถุงเก็บฝุ่นแบบใช้แล้วทิ้งเท่านั้น ซึ่งมีอายุการใช้งานไม่นาน และต้องเปลี่ยนใหม่ (แต่ก็แนะนำว่าสามารถใช้ซ้ำได้)

ข้อดี 🙂

  • มีออปชันที่เลือกได้ทั้ง ดูดฝุ่น และถูพื้น (Vacuum & Mop), ถูพื้นอย่างเดียว (Mop) และ ดูดฝุ่นอย่างเดียว (Vacuum)
  • การดูแลรักษาเครื่องง่ายมากๆ ทิ้งเครื่องเอาไว้ได้เป็นสัปดาห์ ค่อยกลับมาดูแลมันทีนึง
  • มีระบบการนำทางที่ชาญฉลาดมาก เพราะเป็นการผสมผสานระหว่างระบบเลเซอร์ และกล้องสร้างแผนที่จำลอง ที่เป็น 2 นวัตกรรม การนำทางที่ดีที่สุดในโลกในขณะนี้เข้าไว้ด้วยกัน
  • ระบบการซักผ้าม็อบถูพื้นฯ เสียงเงียบ ไม่ดังเท่าตัวอื่น ที่มีความสามารถนี้ และเคยรีวิวมา และที่สำคัญซักผ้าม็อบได้สะอาดมากเช่นกัน
  • มีโหมดล็อกป้องกันเด็กด้วย เหมาะสำหรับคนที่มีเด็ก และสัตว์เลี้ยง ที่อาจจะซนไปโดนปุ่มกดบนตัวเครื่อง
  • อุปกรณ์ทุกอย่างถูกแพ็กเอาไว้ในกล่องเดียว แต่หนักและใหญ่
  • มีออปชั่น หรือลูกเล่นต่างๆ ให้เลือกใช้ (ผ่านแอป Roborock) เยอะมากๆ (เหมือนจะเยอะที่สุดแล้ว ตั้งแต่ผมเคยรีวิวมา) จึงมีความยืดหยุ่นสูง ตอบสนองตามความต้องการ ให้กับผู้ใช้งานได้หลากหลาย

ข้อเสีย 🙁

  • น้ำหนักของตัวกล่องผลิตภัณฑ์ค่อนข้างจะเยอะมากๆ อาจจะขนย้ายลำบากสักนิด เพราะกล่องทั้งใหญ่ และหนัก
  • เนื่องจากมีระบบการนำทางด้วยกล้องสร้างแผนที่จำลอง ทำให้การทำงานในที่มืดนั้น ตัวเครื่องจะเปิด ไฟ LED ส่องสว่าง ที่อยู่ด้านหน้าด้วย อาจจะรบกวนสัตว์เลี้ยง หรือคนที่กำลังนอนหลับพักผ่อนในห้องได้ (เพราะจะเห็นแสงไฟ)
  • กล่องผลิตภัณฑ์ไม่ได้เจาะรูให้สอดมือเข้าไปยกได้สะดวก ต้องใช้วิธีอุ้มเอาทั้งกล่อง และเนื่องจากกล่องฯ มีขนาดใหญ่มาก ทำให้การขนย้าย ไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่นัก

← กลับไปอ่านหน้า 1 (Previous Page)

1
2
ทบทวนภาพรวม
ความสะอาดการดูดฝุ่น
10
ความสะอาดการถูพื้น
10
การดูดทั่วทั้งบริเวณในห้อง
10
การเอาตัวรอดจากอุปสรรค กลับแท่นชาร์จเอง
10
การดูแลรักษา ทำความสะอาด
10
ความหลากหลายของอุปกรณ์เสริม
8
ความสะดวก และ ง่ายต่อการใช้งาน
10
ความสามารถของแอปพลิเคชัน
10
ความสะดวก และ ง่ายของการใช้แอปพลิเคชัน
7
ความคุ้มค่าเทียบกับราคา
10
ความพึงพอใจโดยรวม
10
บทความก่อนหน้านี้รู้จักเครื่องฟอกอากาศ อย่างละเอียดยิบ ในยุคฝุ่นละออง PM 2.5 ปกคลุมเต็มเมือง
บทความถัดไปเก้าอี้นวดไฟฟ้า RESTER CEO AI EC-628X9 ขั้นสุดของการนวด 4 มิติ มี AI วิเคราะห์การนวด สั่งงานผ่าน App
Thanop Somprasong
Thanop.com Founder + Thaiware.com Co-Founder + Business Director, Cloud Business Co.,Ltd. + Committee Thai Webmaster Association
roborock-s7-maxv-ultra-review<p><b>ความสะอาดการดูดฝุ่น (10/10)</b> : เครื่องนี้สามารถปรับความแรงของพัดลมดูดฝุ่น ได้สูงสุดถึง 4 ระดับ หากเปิดระดับสูงสุด (Max Mode) เสียงอาจจะดังสักนิดนึง แต่ก็แลกมาด้วยความสะอาด และการกินแบตเตอรี่ที่มากขึ้น (แบตเตอรี่ลงเร็วหน่อย) ซึ่งก็ถือว่าคุ้มค่ามากๆ เอาไปเลย 10 เต็ม</p> <p><b>ความสะอาดการถูพื้น (10/10)</b> : เรื่องที่สุดของการถูพื้น ในหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ที่มีรูปทรง และขนาดปกติ คงต้องยกให้เครื่องนี้จริงๆ (ถ้าไม่นับหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น ที่สามารถซักผ้าม็อบถูพื้นได้เอง แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก) เสียดายที่ คะแนนเต็มมีแค่ 10 จริงๆ (ใจจริง อยากให้สัก 12/10)</p> <p><b>การดูดทั่วทั้งบริเวณในห้อง (10/10)</b> : เครื่องนี้ใช้ระบบนำทางด้วยเลเซอร์แบบ PreciSense™ LiDAR ทำงานร่วมกับกล้องหน้าแบบคู่ (Dual Camera) ซึ่งเป็น 2 เทคโนโลยีที่ ขึ้นชื่อเรื่องความแม่นยำที่สูงมากๆ มาเป็นเวลานานอยู่แล้ว ประกอบกับเราสามารถเห็นแผนที่การทำความสะอาดสดๆ จากบนแอปพลิเคชัน Roborock ได้อีกด้วย และเห็นว่ามันวิ่งทำความสะอาดครอบคลุมทั้งห้อง (ทั่วทุกพื้นที่จริงๆ ที่เข้าไปได้) หาที่หักคะแนนไม่ได้จริงๆ เช่นกัน</p> <p><b>การเอาตัวรอดจากอุปสรรค กลับแท่นชาร์จเอง (10/10)</b> : พร้อมการประมวลผลด้วยระบบ ReactiveAI™ 2.0 ที่ทำงานตลอดเวลาแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถช่วยจำแนกแยกแยะวัตถุ และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ที่อยู่ภายในห้องได้อย่างแม่นยำมาก พร้อมแสดงผลออกมาในรูปแบบของแผนที่จำลอง ได้ทั้งแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ ผ่านแอปพลิเคชัน Roborock ช่วยสนับสนุนการวิ่งกลับแท่นชาร์จ ได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว</p> <p><b>การดูแลรักษา ทำความสะอาด (10/10)</b> : รูปแบบการดูแลรักษาของเครื่องนี้จัดว่าเต็มคาราเบล เหลือเกิน (ใจจริงอยากให้สัก 20/10) เพราะมันมีความครบเครื่องมากๆ ทั้งการดูดฝุ่น และถูพื้นเหลือเกิน คือที่ผ่านมาเราจะเห็นแค่แท่นเก็บฝุ่นอัตโนมัติ ที่ช่วยลดเวลาการดูแลรักษาเครื่องในมุมของการดูดฝุ่นลงไป แต่ยังไม่ค่อยเจอความสามารถที่ลดเวลาการดูแลรักษาเครื่องในมุมของการถูพื้นสักเท่าไหร่ ตัวนี้ให้มาครบ ทั้งการซักผ้าม็อบถูพื้นฯ และการเติมน้ำลงในถังน้ำภายในเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น</p> <p><b>ความหลากหลายของอุปกรณ์เสริม (6.0/10)</b> : ข้อนี้ถือว่าหักเยอะที่สุด (เหลือ 6.0 คะแนน) เพราะว่า ภายในกล่องผลิตภัณฑ์ ไม่ได้ให้อะไหล่สำรอง ที่เป็นวัสดุสิ้นเปลือง (Consumable Parts) ใดๆ มาเลย แม้แต่แผ่นกรองอากาศ HEPA ชุดสำรอง ก็ตาม ตัวไหนเสื่อม ต้องซื้อมาเปลี่ยนเอง</p> <p><b>ความสะดวก และ ง่ายต่อการใช้งาน (9.0/10)</b> : ถามว่าใช้ง่ายมั้ย ก็ง่าย แต่มันก็ยังไม่สุด (เลยให้ 9.0 / 10 คะแนน) เพราะหุ่นยนต์ดูดฝุ่นทุกตัว ถึงจะใช้ง่ายจริง แต่สุดท้ายมันก็ยังต้องมีเรื่องของการหาตำแหน่งในการวางแท่นชาร์จให้เหมาะสม การติดตั้งผ้าม็อบถูพื้นไมโครไฟเบอร์ กับ ตัวแผ่นติด ฯลฯ</p> <p><b>ความสามารถของแอปพลิเคชัน (10/10)</b> : ความสามารถมีเยอะแยะมากมายเหลือเกิน ปรับแต่งได้ละเอียดมากๆ แบบที่ไม่คิดว่าสามารถทำได้ก็ยังทำได้ แถมยังมีความสามารถ ดูกล้องส่องบรรยากาศห้องจากระยะไกล (Remote Viewing) ที่ให้เราได้สามารถดูบรรยากาศห้อง ที่มันกำลังทำความสะอาดอยู่ผ่านกล้อง และส่งสัญญาณตรงไปยังแอปพลิเคชัน Roborock (<a href="https://www.thanop.com/roborock-s7-maxv-ultra-review/2/#roborock-app-feature-for-roborock-s7-maxv-ultra">ดูความสามารถแอปพลิเคชัน Roborock กับ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ถูพื้น Roborock S7 MaxV Ultra</a>)</p> <p><b>ความสะดวก และ ง่ายต่อการใช้แอปพลิเคชัน (7.0/10)</b> : ด้วยความที่ ความสามารถของตัวแอปพลิเคชัน มันเยอะ และซับซ้อนมากๆ จึงทำให้ผู้ใช้งานต้องมีการเรียนรู้ ที่มากขึ้นเป็นเงาตามตัวไปด้วย ช่วงแรกๆ จึงอาจจะไม่ค่อยรู้สึกสะดวกเท่าไหร่นัก แต่ถ้ามองเพื่อประโยชน์ในระยะยาว จัดว่าคุ้มค่าเอามากๆ</p> <p><b>ความคุ้มค่าเทียบกับราคา (10/10)</b> : ราคา 4 หมื่นต้นๆ (ลองดูตอนจัดโปรโมชันอีกที อาจจะมีถูกกว่านี้) จัดไปครับ มีแต่คุ้มกับคุ้ม ใช้กันยาวๆ มันเป็นหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริงๆ ไม่ใช่ของเล่นเด็กอย่างแน่นอน</p> <p><b>ความพึงพอใจโดยรวม (10/10)</b> : ที่กล่าวมาจัดว่าดีทั้งหมด มีติดแค่เรื่อง ความหลากหลายของอุปกรณ์เสริม อย่างอะไหล่สำรอง ที่เป็นวัสดุสิ้นเปลือง ที่ไม่ได้ให้มาเลย แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้ความพึงพอใจลดลง จัดไปเต็มสิบครับ</p>

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็น
กรุณาใส่ชื่อของคุณตรงนี้