← กลับไปอ่านหน้า 1 (Previous Page)

สำรวจรอบๆ ตัวเครื่อง หุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba j7 Plus

  1. Top and Side Components (ส่วนประกอบด้านบนและด้านข้าง)
  2. Underside Component (ส่วนประกอบด้านล่าง)
  3. Inside Component (ส่วนประกอบภายใน)
  4. Dustbin Component (ส่วนประกอบกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง)
  5. Clean Base™ or Charge Base Component (ส่วนประกอบแท่นชาร์จ หรือ แท่นกำจัดขยะอัตโนมัติ)

Top and Side Components (ส่วนประกอบด้านบน และด้านข้าง)

iRobot Roomba j7 Plus Component Top and Side
ส่วนประกอบด้านบน และด้านข้าง ของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba j7 Plus
  1. PrecisionVision Camera (กล้องตรวจจับสิ่งกีดขวาง) : กล้องสร้างแผนที่จำลองอัจฉริยะ ถูกติดตั้งอยู่ที่ด้านหน้าของตัวเครื่อง มีหน้าที่สร้างแผนที่จำลอง ในการวางแผนวิ่งทำความสะอาด และกลับแท่นชาร์จได้อย่างถูกต้อง และมันยังมีหน้าที่ตรวจจับสิ่งกีดขวางต่างๆ ที่อยู่ด้านหน้า เพื่อการหลบหลีกอย่างฉลาดโดยไม่ทำความเสียหายให้กับวัตถุเหล่านั้น และตัวเครื่องเอง
  2. Clean Button (ปุ่มเริ่มทำความสะอาด) : กดเพื่อสั่งให้หุ่นยนต์ดูดฝุ่น เริ่มทำความสะอาด กดอีกครั้งสั่งให้หยุดทำความสะอาด กดอีกครั้งสั่งให้ทำความสะอาดต่อ
  1. Front Bumper and Wall Follow Sensor (กันชนหน้า และ เซ็นเซอร์เดินตามกำแพง) : กันชนหน้าของหุ่นยนต์ ทำหน้าที่สัมผัสรับรู้การที่หุ่นเดินไปชนกับขาโต๊ะ หรือสิ่งกีดขวางต่างๆ เพื่อให้หุ่นตัดสินใจเปลี่ยนทางเดินหลบเลี่ยงออกมาได้ และกันชนยังสามารถยุบตัวได้เมื่อเกิดการชนเพื่อดูดซับแรงกระแทก ถือเป็นอุปกรณ์พื้นที่ฐานที่หุ่นยนต์ดูดฝุ่นทั้งรุ่นราคาถูกและราคาแพงจะต้องมี
  2. Dustbin (กล่องใส่ขยะฝุ่นละออง) : ขนาดความจุประมาณ 0.4 ลิตร สามารถนำไปล้างน้ำทำความสะอาดได้ (ควรเช็ดทำความสะอาดให้แห้งก่อนนำเข้าไปติดตั้งในเครื่อง) และที่ตัวกล่องมีการติดตั้งแผ่นกรองอากาศคุณภาพสูง (แผ่นกรองอากาศล้างน้ำไม่ได้)
  3. Dustbin Release Button (ปุ่มปลดล็อคกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง) : ปุ่มกดเพื่อปลดล็อก ถอดกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองออกมาจากตัวเครื่อง
iRobot Roomba j7 Plus Top and Side Detail
รายละเอียดส่วนประกอบด้านบน และด้านข้างของตัวเครื่อง

Underside Component (ส่วนประกอบด้านล่าง)

iRobot Roomba j7 Plus Component Underside
ส่วนประกอบด้านล่าง ของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba j7 Plus
  1. Cliff Sensor (เซ็นเซอร์พื้นที่ต่างระดับ) : เซ็นเซอร์ป้องกันการเดินตกบันได หรือเดินตกลงมาจากพื้นต่างระดับ มีการติดตั้งเซ็นเซอร์รอบๆ ตัวเครื่องถึง 6 จุดด้วยกัน มั่นใจได้ว่าไม่มีการเดินตกบันได
  2. Front Caster Wheel (ล้อเลื่อนรับน้ำหนักด้านหน้า) : ทำหน้าที่รับน้ำหนักส่วนหน้าของตัวหุ่น และล้อหมุนได้อิสระ 360 องศาอย่างลื่นไหล (เป็นล้อที่หมุนได้ฟรี ไม่ใช่ล้อขับเคลื่อน) ทำให้หุ่นยนต์เดินไปยังทิศทางที่ต้องการได้
  3. Charging Contact (จุดสัมผัสแท่นชาร์จ) : ขั้วโลหะสีเงินจำนวน 2 ขั้วที่อยู่ด้านหน้าของตัวเครื่อง ทำหน้าที่สัมผัสกับขั้วไฟของแท่นชาร์จ เพื่อรับพลังไฟมาชาร์จเก็บไว้ในแบตเตอรี่ของตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น
  4. Floor Tracking Sensor (เซ็นเซอร์จำแนกพื้นผิว) : เซ็นเซอร์ที่ช่วยให้หุ่นยนต์ดูดฝุ่นเดินเป็นระบบระเบียบ และเป็นเส้นตรง ช่วยเพิ่มระดับความแม่นยำให้มากขึ้นไปอีก
  5. Side Brush Installation Area (พื้นที่ติดตั้งแปรงปัดข้าง) : มีแปรงแค่ฝั่งขวาตัวเครื่องเพียงฝั่งเดียว ไขน๊อตเพื่อล็อคตัวแปรง
iRobot Roomba j7 Plus Underside Detail
ส่วนประกอบด้านล่าง ของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba j7 Plus
  1. Main Brush Installation Area (พื้นที่ติดตั้งแปรงกวาดหลัก) : ออกแบบให้ง่ายในการถอดแปรงออกมาทำความสะอาด โดยมีสลักปลดล็อคฝาครอบ (Brush Frame Release Tab) เมื่อปลดสลักแล้ว ก็สามารถถอดแปรงกวาดหลักแบบคู่ (สีเขียวเข้ม และสีเขียวอ่อน) ออกมาได้อย่างง่ายดาย และที่ช่องติดตั้งแปรงกวาดมีการทำสัญลักษณ์บอกเอาไว้อย่างชัดเจนว่าแปรงอันไหนตัองติดตั้งตรงไหน เพื่อป้องกันการติดตั้งสลับกัน
  2. Main Wheel (ล้อขับเคลื่อนหลัก) : ล้อขนาดใหญ่ หน้าสัมผัสพื้นผิวเป็นยางที่มีความเกาะพื้น และมีมอเตอร์ 2 ตัวที่แยกกันขับเคลื่อน 2 ล้ออย่างอิสระ มาพร้อมสปริงโช๊คอัพที่มีความหนึบและให้ตัวได้พอสมควร ทำให้หุ่นสามารถวิ่งข้ามพื้นต่างระดับ หรือธรณีประตูที่มีความสูงประมาณ 1.5 เซนติเมตรได้
  3. Main Brush Frame Release Tab (สลักปลดล็อคฝาครอบแปรงกวาดหลัก) : ดึงสลักฝาครอบตรงนี้ออก เพื่อเอาแปรงกวาดหลักแบบคู่ออกมาทำความสะอาด
  4. Dirt Disposal Port (ช่องกำจัดสิ่งสกปรก) : ผลิกดูใตักล่องใส่ขยะฝุ่นละออง จะเห็นฝายางสีเขียวที่มีความยืดหยุ่นติดตั้งอยู่ มันจะเปิดออกเมื่อมีแรงลมดูดพลังสูงจากมอเตอร์ที่ติดตั้งอยู่ในแท่นกำจัดขยะอัตโนมัติ เพื่อดูดฝุ่นจากกล่องไปเก็บไวในถุงเก็บฝุ่นแบบใช้แล้วทิ้ง (ดู ส่วนประกอบกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง เพิ่มเติม)
  5. Rear Caster Wheel (ล้อเลื่อนรับน้ำหนักด้านหลัง) : ลูกล้อพลาสติกเล็กๆ ติดตั้งอยู่ที่ใต้กล่องใส่ขยะฝุ่นละออกอย่างแนบเนียน เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวกล่องครูดกับพื้นในขณะที่หุ่นเดินทำความสะอาด (ดู ส่วนประกอบกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง เพิ่มเติม)

Inside Component (ส่วนประกอบภายใน)

เรามาดูว่าจะเจอส่วนประกอบอะไรบ้างถ้าเราถอดแปรงกวาดหลักแบบคู่ และถอดกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองออกมา โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. Main Brush Removal (การถอดแปรงกวาดหลักออกมา)
  2. Dustbin Removal (การถอดกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองออกมา)

1. Main Brush Removal (การถอดแปรงกวาดหลักออกมา)

iRobot Roomba j7 Plus Main Brush Removal
การนำแปรงกวาดหลักออกจากตัวเครื่อง (Main Brush Removal)

การถอดแปรงกวาดหลักแบบคู่ออกมา เพื่อนำไปทำความสะอาดหลังจากผ่านการใช้งานไปสักระยะหนึ่ง ก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก เริ่มจากปลดล็อคสลักฝาครอบ จะทำให้สามารถถอดแปรงกวาดทั้ง 2 ออกมาได้ นำแปรงไปล้างทำความสะอาด แล้วนำไปเช็ดให้แห้งสนิท ก่อนที่จะนำแปรงมาติดตั้งคืนกลับไปในตัวเครื่อง

2. Dustbin Removal (การถอดกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองออกมา)

iRobot Roomba j7 Plus Dustbin Removal
การนำเอากล่องใส่ขยะฝุ่นละออง ออกจากตัวเครื่อง พร้อมบอกตำแหน่งของส่วนประกอบที่สำคัญ

การถอดกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองออกมาทำความสะอาดก็ไม่ได้มีอะไรยุ่งยาก เริ่มด้วยการกดปุ่ม “ปุ่มปลดล็อคกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง” แล้วใช้มือจับถอดกล่องออกมาจากตัวเครื่องได้เลย

ส่งที่น่าสนใจคือ เมื่อเราถอดกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองออกมาเรียบร้อยแล้ว ก็จะเห็นช่องตะแกรงที่อยู่ทางฝั่งซ้าย และถ้ามองส่องลอดช่องตะแกรงเข้าไปก็จะเห็นใบพัดของพัดลมที่ทำหน้าที่ดูดฝุ่นจากพื้นเข้ามาเก็บในกล่อง

Dustbin Component (ส่วนประกอบกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง)

iRobot Roomba j7 Plus Dustbin Detail
รายละเอียดของกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง (Dustbin หรือ Dirtbin)

หุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวนี้ถึงแม้จะมาพร้อมระบบกำจัดฝุ่นอัตโนมัติ แต่กล่องใส่ขยะฝุ่นละอองก็ยังมีขนาดความจุสูงถึง 0.4 ลิตร ทำให้รองรับการเก็บเศษฝุ่นเศษขยะได้เป็นจำนวนมากสำหรับแต่ละรอบของการทำความสะอาด ก่อนที่ฝุ่นทั้งหมดในกล่อง จะถูกดูดไปเก็บไว้ในถุงเก็บฝุ่นแบบใช้แล้วทิ้ง ทำให้เราแทบไม่มีความจำเป็นต้องถอดกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองออกมาจากตัวเครื่อง แต่ถ้าต้องการถอดกล่องไปเทฝุ่นทิ้งเอง หรือเอากล่องไปล้างน้ำทำความสะอาดก็ทำได้ตามต้องการ

โดยที่ลักษณะและฟังก์ชันของกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองจะมีความพิเศษกว่าของหุ่นยนต์ดูดฝุ่นโดยทั่วๆ ไปตรงที่ จะมีช่องกำจัดสิ่งสกปรก (Dirt Disposal Port) ที่มีลักษณะเป็นแผ่นยางสีเขียวเพิ่มเติมเข้ามา ไปให้รองรับการกำจัดฝุ่นออกจากตัวกล่องโดยอัตโนมัติ

Clean Base™ or Charge Base Component (ส่วนประกอบแท่นชาร์จ หรือ แท่นกำจัดขยะอัตโนมัติ)

iRobot Roomba j7 Plus Component Clean Base™
ส่วนประกอบ ของ แท่นชาร์จ (Charge Base) หรือ แท่นกำจัดขยะอัตโนมัติ (Clean Base™) ของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba j7 Plus
  1. Canister Lid (ฝาเปิดที่เก็บถุงเก็บฝุ่นแบบใช้แล้วทิ้ง) : เมื่อเปิดออกมาจะเจอที่เก็บถุงเก็บฝุ่นแบบใช้แล้วทิ้ง โดยเราสามารถเปิดได้ด้วยการจับที่ “แถบดึง (Pull Tab)” ที่เป็นหนังสีน้ำตาล ที่ปั๊มโลโก้ iRobot ขึ้นมาได้เลย
  2. Exhaust Vent or Air Outlet (ช่องอากาศออก) : ระบายอากาศในขั้นตอนของการดูดฝุ่นจากตัวหุ่นยนต์มาเก็บเอาไว้ภายในแท่นชาร์จ
  3. LED Indicator (ไฟแสดงสถานะของแท่นชาร์จ) : แสดงสถานะการชาร์จไฟให้กับตัวหุ่นยนต์ และปริมาณฝุ่นในถุงเก็บฝุ่นฯ หรือแสดงให้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบท่อขนถ่ายฝุ่น อาทิ
    1. Solid Red (ไฟแดงค้าง) : ไม่ได้ใส่ถุงเก็บฝุ่นแบบใช้แล้วทิ้ง หรือภายในถุงเก็บฝุ่นฯ มีฝุ่นอยู่เต็มความจุ หรือต้องทำความสะอาดช่องกำจัดสิ่งสกปรกทางด้านใต้ของกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองทางด้านใต้ตัวหุ่น
    2. Blinking Red (ไฟแสดงกระพริบ) : ท่อขนถ่ายฝุ่นมีการรั่ว หรือมีการอุดตันเกิดขึ้น อาจมีความจำเป็นต้องถอดท่อออกเพื่อกำจัดสิ่งที่อุดตัน
  1. Charging Contacts (ขั้วชาร์จไฟ) : ขั้วโลหะสีเงิน ใช้จ่ายพลังไฟจากแท่นชาร์จ เข้าไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ของตัวหุ่นยนต์
  2. Wheel Wells (ช่องเก็บล้อ) : ล้อของหุ่นยนต์จะมาจอดอยู่ในช่องนี้พอดี เพื่อล็อคให้ตัวหุ่นยึดติดกับแท่นชาร์จอย่างมั่นคง
  3. Debris Evacuation Port and Tube (ช่อง และท่อลำเลียงฝุ่น) : ช่องทางที่ใช้ในการลำเลียงเศษฝุ่นละอองจากกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง ที่อยู่ภายในหุ่นยนต์ดูดฝุ่น เข้าไปเก็บภายใน ถุงเก็บฝุ่นแบบใช้แล้วทิ้ง ที่ติดตั้งอยู่ในแท่นกำจัดขยะอัตโนมัติ
  4. Visual Docking Target (แผ่นเล็งเป้าการจอด) : ความพิเศษของแช่นชาร์จคือ มีการติดตั้งแผ่นเล็งเป้าการจอด ที่มีลักษณะเป็นแผ่นโลหะสีเงิน เพื่อช่วยให้หุ่นยนต์สามารถใช้กล้องตรวจจับสิ่งกีดขวางที่อยู่ทางด้านหน้าตัวหุ่น เพื่อหาเส้นทางในการเดินเข้าจอดกับแท่นชาร์จได้อย่างแม่นยำ
iRobot Roomba j7 Plus Clean Base Detail
รายละเอียดของแท่นชาร์จ หรือ แท่นกำจัดขยะอัตโนมัติ (Clean Base™)

การเตรียมเครื่อง และเปิดใช้งานจริง หุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba j7 Plus

เราก็มาถึงขั้นตอนการเตรียมความพร้อมเพื่อเริ่มใช้งานหุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวนี้ ก็ไม่ได้มีอะไรยุ่งยากหรือแตกต่างจากหุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวอื่น ๆ ถัาพร้อมแล้ว เรามาเริ่มกันเลย

1. Charge Base Installation and First Time Charging (การติดตั้งแท่นชาร์จ และชาร์จไฟครั้งแรก)

iRobot Roomba j7 Plus Charging Area
ติดตั้งแท่นชาร์จ หรือ แท่นกำจัดขยะอัตโนมัติ ของหุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba j7 Plus ในพื้นที่โล่ง ฝั่งซ้าย-ขวา 0.5 เมตร และ ด้านหน้า 1.2 เมตร

สำหรับการวางแท่นชาร์จของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba j7 Plus มีเรื่องที่ต้องพิจารณาคือ ต้องเว้นพื้นที่ว่างรอบแท่นชาร์จเอาไว้ เพื่อให้หุ่นยนต์ทำงานได้อย่างเหมาะสม โดยทางฝั่งซ้าย และขวาของแท่นชาร์จ ควรมีพื้นที่ว่างอย่างน้อย 0.5 เมตร (1.6 ฟุต) แต่ถ้าวางไว้ในพื้นที่ใกล้บันได ควรเว้นพื้นที่ห่างจากบันไดอย่างน้อย 1.2 เมตร (5 ฟุต)

ในขณะที่ พื้นที่ว่างทางด้านหน้าตัวเครื่อง ก็ควรเว้นไว่อย่างน้อย 1.2 เมตร (5 ฟุต) และในส่วนของทางด้านบนเหนือแท่นชาร์จ ก็ต้องเว้นพื้นที่ว่างเอาไว้อย่างนัอย 0.3 เมตร (1 ฟุต) เพื่อให้ทำการเปิดฝา เพื่อเข้าถึงถุงเก็บฝุ่นได้อย่างสะดวก

และที่สำคัญคือแท่นชาร์จต้องตั้งอยู่ในพื้นที่ที่สัญญาณ Wi-Fi ครอบคลุม เพื่อให้ระบบการทำงานของหุ่นยนต์สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต และสั่งงานหุ่นยนต์ดูดฝุ่นผ่านแอปพลิเคชันบน แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน ได้อย่างสะดวก

ในส่วนของการชาร์จไฟครั้งแรกเพื่อกระตุ้นแบตเตอรี่ในตัวหุ่นยนต์ก่อนใช้งานนั้นก็ไม่มีความจำเป็นแล้ว แต่อย่างไรก็ดีให้หุ่นยนต์อยู่ในแท่นชาร์จข้ามคืนไปเลยก็ได้ เพื่อให้แบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออนได้รับการชาร์จไฟอย่างเต็มความจุ

2. Application Connection via Wi-Fi (การเชื่อมต่อแอปพลิเคชัน ผ่าน Wi-Fi)

ด้วยความที่บนตัวหุ่นยนต์ดูฝุ่น มีปุ่มสั่งงานเพียงปุ่นเดียวเท่านั้น ทำให้การสั่งงานในฟังก์ชันต่างๆ ต้องทำผ่านแอปพลิเคชัน ไม่ว่าจะเป็นการตั้งค่าการทำงานต่างๆ รวมไปถึง การสั่งให้หุ่นยนต์เริ่มทำความสะอาด, การตั้งเวลาทำความสะอาดล่วงหน้า, การเปิดดูแผนที่ห้องต่างๆ ในบ้านว่าหุ่นยนต์ดูดฝุ่นทำความสะอาดตรงไหน ส่วนใด ในห้องไปแล้วบ้าง และอื่นๆ อีกมากมาย

iRobot HOME App Logo
โลโก้แอปพลิเคชัน iRobot HOME

ซึ่งทาง iRobot เองเขามีแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า “iRobot HOME” มันเป็นแอปฯ ที่พัฒนาขึ้นมาโดย บริษัท iRobot Corporation มีความสามารถในการควบคุมหุ่นยนต์ดูดฝุ่น และหุ่นยนต์ถูพื้นของ iRobot หลากหลายรุ่น และเป็นแอปพลิเคชันที่มีให้ใช้งานบน 2 ระบบปฏิบัติการคือ iOS และ Android

  1. ดาวน์โหลดแอป iRobot HOME สำหรับ iOS ผ่าน App Store
  2. ดาวน์โหลดแอป iRobot HOME สำหรับ Android ผ่าน Play Store

เมื่อติดตั้งแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือของเราเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ลำดับต่อไปเราจะมาดูขั้นตอนการเชื่อมต่อ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba j7 Plus เข้ากับแอปพลิเคชัน โดยขั้นตอนก็มีดังต่อไปนี้

คุณสมบัติ และความสามารถของตัวแอปพลิเคชัน iRobot HOME เมื่อใช้กับ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba j7 Plus

iRobot Roomba j7 Plus App Interface Example
รูปตัวอย่างหน้าจอในเมนูต่างๆ ของแอปพลิเคชัน iRobot HOME ที่ใช้ในการควบคุม หุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba j7 Plus
  1. Execute Cleaning Command (การสั่งงานเครื่อง)
    1. Start AUTO Mode Cleaning : สั่งให้เครื่องเริ่มทำงานในโหมดอัตโนมัติทันที
    2. Pause / Resume Cleaning : สั่งให้เครื่องหยุดทำงานชั่วคราวหรือทำงานต่อ (แต่ละงานมีอายุ 1.30 ชั่วโมงเท่านั้น)
    3. Send Home : สั่งให้เครื่องกลับแท่นชาร์จ หรือแท่นกำจัดขยะอัตโนมัติ
    4. Empty Bin : ดูดฝุ่นกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองที่อยู่ในตัวเครื่อง ไปเก็บไว้ในถุงเก็บฝุ่นแบบใช้แล้วทิ้ง (Dirt Disposal Bag)
    5. Create a new Smart Map : สั่งให้หุ่นยนต์ดูดฝุ่นเรียนรู้ และสร้างแผนที่ห้อง โดยมี 2 ตัวเลือกหลักๆ คือ
      1. Clean and Map : สร้างแผนที่ห้องไปด้วย และดูดฝุ่นทำความสะอาดห้องไปพร้อมๆ กันด้วย
      2. Start Mapping Run : สร้างแผนที่ห้องอย่างเดียว
  2. Check Robot Status (การดูสถานะของตัวเครื่อง)
    1. Robot Status (ดูสถานะปัจจุบันของตัวเครื่อง) ได้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ อาทิ
      1. Ready to Vacuum (เครื่องอยู่ในโหมดพร้อมใช้งาน)
      2. Vacuuming (กำลังทำงาน)
      3. Pausing Job (กำลังหยุดการทำงานชั่วคราว)
      4. Paused (หยุดการทำงานชั่วคราว)
      5. Resuming Job (กำลังเริ่มทำงานต่อ)
      6. Returning Home (กำลังกลับแท่นชาร์จ หรือ แท่นกำจัดขยะอัตโนมัติ)
      7. Charging (กำลังชาร์จไฟ)
      8. Emptying Bin (กำลังนำฝุ่นออกจากกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง ไปเก็บในถุงเก็บฝุ่นแบบใช้แล้วทิ้ง)
      9. Mapping (กำลังเรียนรู้ และสร้างแผนที่ห้อง)
      10. Saving Cleaning Map (กำลังบันทึกแผ่นที่ห้อง)
      11. Connecting (กำลังเชื่อมต่อกับหุ่นยนต์ดูดฝุ่น)
    2. Cleaning History (ดูประวัติการทำความสะอาดย้อนหลัง)
      1. Each Time Report (ดูประวัติการทำความสะอาดย้อนหลังแบบรายครั้ง)
      2. Total Area Cleaned (สรุปพื้นที่ทั้งหมดที่ทำความสะอาดมาแล้ว) (หน่วยเป็นตารางเมตร – m2)
      3. Lifetime Report (สรุปรายละเอียดการทำความสะอาดทั้งหมด)
    3. Battery Status (ดูสถานะปริมาณคงเหลือของแบตเตอรี่) (แสดงผลเป็นแถบสี)
    4. Locate Roomba (ตรวจสอบตำแหน่งปัจจุบันของตัวเครื่อง) (เครื่องจะส่งเสียงร้องออกมาให้เราเดินหาเอง)
  3. General Settings or Robot Settings (การตั้งค่าของหุ่นยนต์ดูดฝุ่นทั่วไป)
    1. About Roomba (ดูข้อมูลของตัวเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น)
      1. Robot Name (ชื่อเครื่องหุ่นยนต์ดูดฝุ่น)
      2. Robot Birthday (วันเกิดของตัวเครื่อง)
      3. Robot Software (เวอร์ชันซอฟต์แวร์ ของตัวเครื่องล่าสุด)
      4. Robot Software Updated (การอัปเดทซอฟต์แวร์ของตัวเครื่องล่าสุด)
      5. Serial Number (หมายเลขซีเรียล)
    2. About Clean Base™ (ดูข้อมูลของแท่นชาร์จ หรือ แท่นกำจัดขยะอัตโนมัติ)
      1. Clean Base™ Software (เวอร์ชันซอฟต์แวร์ ของแท่นชาร์จล่าสุด)
      2. Serial Number (หมายเลขซีเรียล)
    3. Cleaning Schedule (การตั้งเวลาทำความสะอาด)
      1. Cleaning (ตั้งเวลาทำความสะอาดได้หลากหลาย) (จะตั้งแบบ วันเว้นวัน / วันละสองครั้ง ฯลฯ ได้หมด)
        • When I leave home (ตั้งให้ทำความสะอาดเวลาที่เราออกจากบ้านจากเงื่อนไขต่างๆ)
      2. Do not Disturb (ตั้งโหมดห้ามรบกวน) (ไม่ให้เครื่องออกมาทำความสะอาดในช่วงเวลาดังกล่าว)
    4. Cleaning Preferences (การตั้งค่าการทำความสะอาด)
      1. Cleaning Passes (รูปแบบการวิ่งผ่าน) (สามารถตั้งได้ว่าจะทำความสะอาดกี่รอบ)
      2. Bin Full Behavior (รูปแบบการทำงานกรณีกล่องใส่ขยะฝุ่นละอองเต็ม)
      3. Obstacle Detection (การตรวจจับสิ่งกีดขวาง) (มีแค่เปิดระบบ กับปิดระบบ – แนะนำให้ควรเปิดไว้)
    5. Wi-Fi Settings (การตั้งค่าการเชื่อมต่อไวไฟ พร้อรายละเอียดเชิงลึกของเครือข่ายเชื่อมต่อ)
    6. Robot Language (การปรับเปลี่ยนภาษา) (มีภาษากว่า 26 ภาษาทั่วโลก แต่ยังไม่มีภาษาไทยเช่นเคย)
    7. Reboot Roomba (สั่งรีบูตเครื่อง)
    8. Remove / Factory Reset Roomba (ลบเครื่องออกจากการควบคุมของบัญชีผู้ใช้นี้ / คืนค่าโรงงาน)
  4. Help (การช่วยเหลือทั่วไป)
    1. Care & Maintenance (ดูคู่มือการใช้งาน และการซื้ออะไหล่)
    2. FAQ (คำถามที่พบบ่อย)
    3. Documents (เอกสารประกอบเครื่อง) (สามารถอ่านออนไลน์ได้เลย)
      1. Warranty (ข้อมูลการรับประกัน)
      2. Owner’s Guide (คู่มือการใช้งาน)
      3. Quick Start Card (คู่มือเริ่มต้นการใช้งาน)
    4. Contact iRobot Support (รายละเอียดการติดต่อไอโรบอทประเทศไทย)
    5. Report a Problem (ส่วนของการรายงานเกี่ยวกับการใช้งานเครื่อง) (ส่งแบบฟอร์มออนไลน์)
    6. Copyright Notices (ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์)
  5. Roomba Management and General Information (การจัดการเครื่อง และข้อมูลทั่วไป)
    1. Account and Privacy (การตั้งค่าบัญชี และความเป็นส่วนตัว)
    2. Smart Home Connection (การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์สมาร์ทโฮม)
    3. Add a Robot (เพิ่มเครื่องหุ่นยนต์ทำความสะอาดของ iRobot เพื่อควบคุม)
    4. iRobot Store (ร้านค้าของไอโรบอท มีอะไหล่ของหุ่นยนต์ดูดฝุ่นให้เลือกซื้อครบถ้วน)

สภาพหลังการใช้งานของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba j7 Plus

ด้วยความที่ iRobot Roomba j7 Plus มีระบบกำจัดสิ่งสกปรกจากกล่องใส่ขยะฝุ่นละออง ที่อยู่ในตัวหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ได้เองอัตโนมัติ จึงทำให้กล่องใส่ขยะฝุ่นละออง มีความสะอาดอยู่ตลอดเวลาหลังการใช้งาน เพราะว่าฝุ่นทั้งหมดได้ถูกดูดเข้าไปเก็บอยู่ภายในถุงเก็บฝุ่นแบบใช้แล้วทิ้งที่อยู่ในแท่นชาร์จเรียบร้อยแล้ว

ลองถอด ถุงเก็บฝุ่นแบบใช้แล้วทิ้ง ออกมาดูก็พบว่ามีฝุ่นและเศษขยะถูกเก็บอยู่มากมาย ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งการทำความสะอาดของหุ่นยนต์ แต่ก็ไม่สามารถมองเห็นฝุ่นที่เก็บอยู่ได้ทั้งหมด เพราะเป็นการมองผ่านช่องกลมขนาดเล็ก ที่เป็นทางผ่านของการดูดฝุ่นเข้าไปเก็บอยู่ในถุง แต่ถ้าจะให้ตบที่ตัวถุงก็กลัวว่าฝุ่นจะฟุ้งออกมา ก็เลยไม่ทำดีกว่า

ทดสอบอัตราการกินไฟของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba j7 Plus

สถานการณ์
(Situation)
การกินไฟ
(Power Consumption)
การคำนวณค่าไฟ
(Power Consumption Calculation)
ค่าไฟ / เดือน
(Electricity Charge / Month)
1. ขณะดูดฝุ่นจากเครื่องไปเก็บในถุง
(When Empyting the Bin)
≈ 1,000 วัตต์ (1,000 วัตต์* x 0.003 ชั่วโมง (12 นาที)** x 30 วัน x 5 บาทต่อยูนิต***) / 1,000 0.45 บาท
2. ขณะไฟยังไม่เต็มแบตเตอรี่
(When Charging)
≈ 22.5 วัตต์ (22.5 วัตต์ x 2 ชั่วโมง** x 30 วัน x 5 บาทต่อยูนิต***) / 1,000 6.75 บาท
3. ขณะไฟเต็มแบตเตอรี่แล้ว
(Fully Charged)
≈ 2.2 วัตต์ (2.2 วัตต์ x 21 ชั่วโมง** x 30 วัน x 5 บาทต่อยูนิต***) / 1,000 6.93 บาท

รวมทั้งสิ้นค่าไฟของเครื่องนี้ประมาณ 15 บาท ต่อเดือน

หมายเหตุ* : ตัวเลข 1,000 วัตต์ นี้เกิดขึ้นจากการวัดค่าเองด้วยเครื่องทดสอบอัตราการกินไฟดิจิตอล แม้ในความเป็นจริงแล้วตามสเปคระบุว่าแท่นชาร์จกินไฟสูงสุด 1,200 วัตต์ (ถือว่าต่ำกว่าที่ประเมินเอาไว้ เป็นสิ่งที่ดีงาม)

หมายเหตุ** : ประเมินจากสถานการณ์ ถ้าหากเครื่องทำงานจนแบตเตอรี่เกือบหมดเกลี้ยง จะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. ระยะเวลาการชาร์จไฟสูงสุดประมาณ์ : ≈ 2 ชั่วโมง (ต่อครั้ง ต่อวัน)
  2. ระยะเวลาที่เหลือขณะจอดที่แท่นชาร์จเฉยๆ : ≈ 21 ชั่วโมง (ต่อวัน)
  3. ระยะเวลาที่เครื่องออกไปทำงาน : ≈ 1 ชั่วโมง (ต่อวัน) (ไม่ถูกนำไปคำนวณ เพราะไม่ได้จอดอยู่ที่แท่นชาร์จ)

หมายเหตุ*** : คุณสามารถเปลี่ยน ค่าไฟต่อยูนิต (ในตัวอย่างนี้คิด 5 บาทต่อยูนิต – ถือว่าอยู่ในอัตราที่สูง) ให้เป็นตามที่จ่ายจริง เพราะที่พักอาศัยในแต่ละที่อาจจะคิดไม่เท่ากัน

การรับประกัน และการสั่งซื้อ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba j7 Plus

iRobot Roomba j7 Plus and Box
หุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba j7 Plus และ กล่องผลิตภัณฑ์

สำหรับหุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba j7 Plus มีการรับประกันตัวเครื่องทั้งสิ้น 1 ปี* โดยคุณสามารถติดต่อสั่งซื้อได้ผ่านทางช่องทางต่างๆ ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น

  • Telephone No (เบอร์โทรศัพท์) : 02-512-5888
  • Website (เว็บไซต์) : https://www.irobotthailand.com/
  • LINE Official Account (บัญชีไลน์ธุรกิจ) : @irobotthailand
  • Facebook Page (เพจเฟสบุ๊ค) : iRobot

หมายเหตุ* : การรับประกันเครื่อง ไม่ครอบคลุมการใช้งานที่ผิดประเภท รวมไปถึงอุปกรณ์จำพวก อะไหล่สิ้นเปลือง (Consumable Parts) อย่าง แผ่นกรองอากาศ, ถุงเก็บฝุ่นแบบใช้แล้วทิ้ง, แปรงปัดข้าง, แปรงกวาดหลัก เป็นต้น

บทสรุปการใช้งาน ข้อดี-ข้อเสีย ของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba j7 Plus

iRobot Roomba j7 Plus Working
การทำงานของ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba j7 Plus ในสถานการณ์ต่างๆ

บทสรุปการใช้งานทั่วไป

  • เครื่องสามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้ดีขึ้นจริงๆ มีการทดสอบเอา ลูกฟุตบอล สายไฟ รองเท้า และอื่นๆ วางอยู่บนพื้น มันสามารถหลบหลีก พร้อมหาเส้นทางที่เหมาะสมได้ โดยไม่มีการชนกับวัตถุดังกล่าวเลย
  • เครื่องสามารถวิ่งขึ้นพรมเช็ดเท้า (ตามสเปกบอกว่าได้ไม่เกิน 1.5 เซนติเมตร) ได้โดยไม่มีการติดขัดใดๆ
  • การสั่งงานผ่านแอปพลิเคชัน iRobot Home สามารถตอบสนองกับผู้ใช้งานได้ทันที ไม่มีดีเลย์ (กดปุ๊บตอบสนองปั๊บ)
  • สามารถวิ่งกลับแท่นชาร์จ ได้อย่างแม่นยำทุกครั้ง
  • สามารถประมวลผลว่าพื้นที่ตรงไหนเป็นพื้นเนื้อแข็ง (Hard Floor) หรือ พื้นพรม (Carpet) ได้อย่างแม่นยำ และช่วยเพิ่มแรงดูดให้เองโดยอัตโนมัติ

ข้อดี (ที่เพิ่มเติมเข้ามาของรุ่นนี้) 🙂

  • ปุ่มกดบนตัวเครื่อง ลดลงเหลือแค่ “ปุ่มเดียว” ลดความยุ่งยากซับซ้อน
  • ตัวแท่นชาร์จ หรือ แท่นกำจัดขนะอัตโนมัติ มีขนาดที่เล็กลง (เตี้ยลง) กว่ารุ่น Roomba i7 Plus อย่างชัดเจน (ความสูงเล็กลงไปประมาณ 30%) ทำให้ขนาดของกล่องผลิตภัณฑ์เล็กลงด้วยเช่นกัน
  • น้ำหนักเครื่องค่อนข้างเบา สามารถยกไปไหนมาไหนสะดวก (แต่เสียดาย ในรุ่นนี้ถูกนำหูหิ้วออกไป)
  • ในขณะที่เครื่องกำลังทำงาน เสียงค่อนข้างเงียบ ไม่รบกวนในขณะพักอาศัย (ระดับเสียงประมาณ 55 เดซิเบล – เทียบเท่า หรือบทสนทนาทั่วๆ ไปของมนุษย์)
  • ขณะที่วิ่งทำความสะอาดทุกครั้ง จะมีไฟ LED เปิดสว่างที่หน้าเครื่องอยู่ตลอดเวลา (อารมณ์เหมือนเปิดไฟฉายบนมือถือ) ทำให้รู้ว่าขณะนี้หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ทำงานอยู่ตรงส่วนไหนในบ้านเรา (ไฟ LED นี้ไม่สามารถสั่งให้ปิดได้)
  • มีความสามารถในการตั้งเวลาทำความสะอาด เวลาที่เราออกจากบ้านได้ด้วย (แต่ต้อง “เปิด Location Services” แบบ “Always Allow” หรือเปิดตลอดเวลา)

ข้อเสีย 🙁

  • เสียงเครื่องขณะที่แท่นชาร์จดูดฝุ่นจาก กล่องใส่ขยะฝุ่นละออง เข้าไปเก็บไว้ใน ถุงเก็บฝุ่นแบบใช้แล้วทิ้ง ดังมากกกก ถึงมากที่สุด
  • หูหิ้ว หรือด้ามจับ ที่อยู่ด้านบนสุดของตัวเครื่องถูกนำออกไปจากรุ่นนี้

← กลับไปอ่านหน้า 1 (Previous Page)

1
2
ทบทวนภาพรวม
ความสะอาดการดูดฝุ่น
10
การดูดทั่วทั้งบริเวณในห้อง
10
การเอาตัวรอดจากอุปสรรค กลับแท่นชาร์จเอง
10
การดูแลรักษา ทำความสะอาด
10
ความหลากหลายของอุปกรณ์เสริม
9
ความสะดวก และ ง่ายต่อการใช้งาน
10
ความสามารถของแอปพลิเคชัน
10
ความสะดวก และ ง่ายของการใช้แอปพลิเคชัน
8
ความคุ้มค่าเทียบกับราคา
8
ความพึงพอใจโดยรวม
10
บทความก่อนหน้านี้MAKOTO A307 เก้าอี้นวดไฟฟ้าระบบ AI สแกนร่างกายปรับการนวดให้เหมาะสม สั่งงานด้วยเสียงได้ พร้อมโปรแกรมนวดเพียบ
บทความถัดไปMAKOTO A92 เก้าอี้นวดไฟฟ้าที่นวดได้ทั้งตัว เหมาะกับทุกเพศ ทุกวัย และทุกอาชีพ
Thanop Somprasong
Thanop.com Founder + Thaiware.com Co-Founder + Business Director, Cloud Business Co.,Ltd. + Committee Thai Webmaster Association
irobot-roomba-j7-plus-review<p>หุ่นยนต์ดูดฝุ่น iRobot Roomba j7 Plus เป็นหุ่นยนต์ดูดฝุ่นภาคที่ได้ถูกพัฒนาต่อมากจากรุ่น Roomba i7 Plus ที่ก่อนหน้านี้ ผมเคยบอกว่ามันดีอยู่แล้ว สุดยอดอยู่แล้ว แต่ก็เป็นเรื่องธรรมดาของโลกนี้ที่ "<strong>เหนือฟ้ายังมีฟ้า</strong>" ซึ่งขอบอกก่อนเลยว่าตัว Roomba j7 Plus ก็เป็นรุ่นที่ได้ถูกปรับปรุง ด้วยการนำจุดสังเกตที่มีอยู่เล็กๆ น้อยๆ จาก Roomba i7 Plus มาพัฒนาจนออกมาสู่ตลาดได้ในที่สุด</p> <p>สำหรับข้อเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนที่สุดของ iRobot Roomba j7 Plus ก็คือ ขนาดของ แท่นชาร์จ (หรือ แท่นกำจัดขยะอัตโนมัติ (Clean Base)) ที่มีขนาดที่เตี้ยลงอย่างชัดเจน (ลดความสูงลงไป 30% จากรุ่น Roomba i7 Plus) ด้วยเหตุนี้เองจึงช่วยลดอุปสรรค และลดข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่วางในแนวดิ่งไปได้มากเลยทีเดียว</p> <p>นอกจากนี้แล้ว ทาง iRobot เอง ก็ยังมีการย้ายตำแหน่งของกล้องสร้างแผนที่จำลอง (Mapping Camera) ที่อยู่ด้านบนของตัวเครื่อง (ส่องขึ้น) ลงมาอยู่ที่ด้านหน้าของตัวเครื่อง ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้นอกจากที่จะสร้างแผนที่จำลองได้แล้ว ยังสามารถใช้ตรวจจับสิ่งกีดขวาง หรืออุปสรรคต่างๆ ที่อยู่ด้านหน้าของตัวเครื่องได้ตลอดเวลาอีกด้วย<p> <p>ในขณะที่ อุปกรณ์สิ้นเปลืองต่างๆ (Consumable Parts) อย่าง ถุงเก็บฝุ่นแบบใช้แล้วทิ้ง, แผ่นกรองอากาศ HEPA ก็สามารถใช้แทนกันได้เลย เพราะรหัสอะไหล่ (Part Number) เดียวกัน</p> <p>ถ้าพูดถึงความสามารถอื่นๆ ของมัน ถ้าเทียบจากรุ่น Roomba i7 Plus ก็ยังอยู่กันครบ ไม่ว่าจะเป็นแปรงกวาดหลักยางแบบคู่ (Dual Rubber Brushes), ระบบทำความสะอาดทรงประสิทธิภาพ AeroForce™ รวมไปถึง ระบบเรียนรู้ และแบ่งพื้นที่ห้องเอง Imprint™ Smart Mapping และ ระบบเชื่อมต่อการทำงานระหว่าง หุ่นยนต์ดูดฝุ่น และ หุ่นยนต์ถูพื้น iRobot อย่าง Imprint™ Link</p> <p>สุดท้ายนี้ขอสรุปสั้นๆ ง่ายๆ อีกทีคือ iRobot Roomba j7 Plus มันคือภาคต่อ ที่ปรับปรุงจุดสังเกตต่างๆ ให้ดีขึ้นไปอีก ในส่วนราคาก็ใกล้เคียงกัน อะไหล่หลายตัวใช้แทนกันได้ ลองดูครับ ชื่อชั้น iRobot มันคือ หุ่นยนต์ดูดฝุ่นเบอร์ 1 ของอเมริกา ที่หลายประเทศทั่วโลก ไว้วางใจใช้อยู่แล้ว และถึงแม้ว่ามันจะไม่มีฟังก์ชันการถูพื้นได้ในตัว เพราะอุดมการณ์ที่ยึดมาตลอดเขาคือ "แยกกัน (ระหว่างดูดกับถู) จะให้ประสิทธิภาพดีที่สุด</p>

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็น
กรุณาใส่ชื่อของคุณตรงนี้